วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

บทที่ 8 โปรแกรมยูทิลิตี้

โปรแกรมยูทิลิตี้


ความหมายของโปรแกรมยูทิลิตี้

    โปรแกรมยูทิลิตี้หรือโปรแกรมอรรถประโยชน์ จัดอยู่ในประเภทหนึ่งของซฮฟต์แวร์ระบบที่ถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนและเพิ่มขีดความสามารถของโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ ณ ขณะนั้น ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น โปรแกรมนี้จะถูกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อะไรขึ้นอยู่กับผู้สร้าง เช่นโปรแกรมบำรุงรักษาระบบ โปรแกรมสำรองข้อมูลและการกู้คืนข้อมูล หรือโปรแกรมเพื่อการปรับจูนระบบ เป็นต้น
    ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ โดยปกติได้มีการผนวกโปรแกรมยูทิลิตี้มาให้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น และมีขีดจำกัดข้างต้นเท่านั้น ดังนั้นแนวทางที่เราจะสามารถแก้ปัญหาได้จึงจำเป็นต้องหาโปรแกรมยูทิลิตี้จากผู้ผลิตรายอื่นมาใช้นั่นเอง

ยูทิลิตี้สำหรับป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์

    โปรแกรมสำหรับป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ จัดเป็นยูทิลิตี้อย่างหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แฝงมากับไฟล์ข้อมูลต่างๆ รวมถึงระบบเครือข่ายโดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต โปรแกรมป้องกันไวรัสจำเป็นต้องติดตั้งลงคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่มีการใช้งาน เพราะในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องคงหนีไม่พ้นกับการถ่ายโอน คัดลอกข้อมูลผ่านสื่อต่างๆ หรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นช่องทางที่เครื่งสามารถติดไวรัสได้ทั้งสิ้น

แนวทางการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
    ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการใดๆ ที่สามารถกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ได้แน่นอน 100% แต่ก็มีแนวทางป้องกันอยู่หลายทางด้วยกัน ที่สามารถนำมาปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์ได้

1. หลีกเลี่ยงการใช้สื่อจากแหล่งอื่นในการบูตเครื่อง
    คอมพิวเตอร์นอกจากบูตเครื่องจากตัวฮาร์ดดิสก์ในตัวเครื่องได้แล้ว ยังสามารถสั่งบูตจากแผ่น ซีดี/ดีวีดี รวมถึงการสั่งบูตจากแฟลชไดรฟ์ได้อีกด้วย ให้หลีกเลี่ยงการบูตจากสื่ออื่นที่ไม่รู้แหล่งที่มาซึ่งจะสามารถช่วยลดโอกาสในการจู่โจมของไวรัสได้ทางหนึ่ง

2. ตั้งค่าระดับความปลอดภัยในโปรแกรมประยุกต์เพื่อป้องกันไวรัสมาโคร
    เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ไวรัสแบบมาโครนั้น มักก่อกวนผู้ใช้ผ่านชุดโปรแกรมออฟฟิศ แต่โปรแกรมประยุกต์อย่าง MS-Word ได้มีการตรียมระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันการคุกคามจากไวรัสประเภทนี้เช่นกัน ผู้ใช้สามารถเข้าไปตั้งค่าระบบความปลอดภัยให้สูงขึ้นได้ด้วยตนเอง

3. การใช้โปรแกรมป้องกันไวรัส
    เป็นการป้องกันไวรัส ด้วยการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้ภายในเครื่อง และในปัจจุบันโปรแกรมเหล่านี้ก็ค่อนข้างมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากสมัยก่อน สามารถตรวจสอบพบไวรัสที่แฝงตัวอยู่ในเครื่องเราได้ และส่งสัญญาณเตือน และยังสามารถกำจัดไวรัสเหล่านั้นออกไปจากเครื่องเราได้ แต่สำหรับโปรแกรมป้องกันไวรัสนั้น ต้องหมั่นอัปเดตให้ทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ เพราะมีไวรัสเกิดใหม่ทุกๆวัน  การอัปเดตจึงเป็นวิธีที่สำคัญสำหรับโปรแกรมเหล่านี้

4. ไม่ควรเปิดไฟล์เอกสารที่มีไวรัสแฝงอยู่
    หากไฟล์ข้อมูลต่างๆที่ได้รับจากแหล่งอื่นที่ไม่รู้ที่มาโดยเครื่องีการร้องเตือนว่าไฟล์ดังกล่าวมีตัวไวรัสแฝงตัวมาให้ทำการลบไฟล์นั้นออกจากเครื่องทันที และไม่ควรทดลองเปิดไฟล์ดังกล่าว ไม่ว่าวิธีใดก็ตาม

5. ตรวจสอบสื่อบันทึกข้อมูลก่อนใช้งานเสมอ
    ก่อนการใช้งานสื่อบันทึกข้อมูลชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แฟลชไดรฟ์ หรือ แผ่น ซ๊ดี / ดีวีดี ต่างๆ ควรทำการสแกนไวรัสก่อนเสมอ เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าสื่อบันทึกนั้นๆ มีไวรัสแฝงมาหรือไม่ การสแกนเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีไวรัสใดๆ ติดมากับส่อนั้นๆ

6. ป้องกันข้อมูลด้วยการ Write Protect
    กรณีต้องการเขียนข้อมูลลงในดิสก์ เช่นแผ่นข้อมูล แผ่นบูต หรือไฟล์งานอื่นๆ ควรป้องกันด้วยการ Write Protect แผ่นดิสก์นั้นด้วย เนื่องจากการ Write Protect นั้นเป็นการทำให้ไฟล์ที่บันทึกอ่านได้อย่างเดียว ทำให้ไวรัสไม่สามารถเขียนข้อมูลทับลงไปได้ แฟลชไดร์ฟบางรุ่นก็มีปุ่มเลื่อนเพื่อป้องกันการบันทึกได้อีกด้วย

7. หมั่นสำรองข้อมูล
    เพื่อป้องกันการเสียหายของข้อมูล เพราะหากเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นมาจริงๆ ก็ยังมีข้อมูลที่สำรองไว้อยู่ ซึ่งการสำรองข้อมูลนั้น ควรทำให้ติดเป็นนิสัยเพื่ออัปเดตข้อมูลที่มีอยู่


ยูทิลิตี้เพื่อการสำรองและกู้คืนข้อมูล

    ข้อมูลเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างหนึ่งโดยเฉพาะสารสนเทศต่างๆที่บันทึกอยู่ในคอมพิวเตอร์ของเรา เราไม่สามารถเดาได้เลยว่าข้อมูลของเราจะเสียหายไปเมื่อใด และการใช้งานของแต่ละคนก็แตกต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง คอมพิวเตอร์บางเครื่องใช้งานส่วนตัว บางเครื่องใช้งานแบบส่วนรวม แนวทางที่ดีที่สุดสำหรับป้องกันการเสียหายของข้อมูลนั่นก็คือ การสำรองข้อมูลนั่นเอง
    สำหรับวิธีการสำรองข้อมูลแบบง่ายที่สุดก็คือ การสำเนาข้อมูลต่างๆไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร หรือไฟล์อื่นๆด้วยการคัดลอกเก็บไว้ในสื่อบันทึกต่างๆ นอกจากนี้เรายังสามารถสำรองข้อมูลระบบของเราได้อีกด้วย ข้อมูลระบบนั้นถือเป็นข้อมูลสำคัญและในการสำรองจะต้องใช้ซอฟต์แวร์เข้ามาช่วย

การสำรองข้อมูลระบบ 

    บางครั้งในการใช้งานก็จะมีความผิดพลาดของระบบเช่น วินโดวส์มีอาการรวน ทำให้เราต้งตัดสินใจล้างเครื่องและติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ต่างๆใหม่ทั้งหมดซึ่งเป็นเรื่องที่เสียเวลา โโยเฉพาะการติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ต่างๆเป็นจำนวนมาก แต่ถ้าหากมีการสำรองข้อมูลไว้ก็จะทำให้ทุกอย่างกลายเป็นเรื่องที่ง่ายด้วยการกู้คืนข้อมูลระบบให้กลับคืนมาทำงานใหม่ได้
การสำรองข้อมูลระบบนั้นไม่สามารถทำด้ด้วยการคัดลอกเหมือนกับการคัดลอกไฟล์ทั่วๆไป แต่จะเป็นการสำรองระดับพาทิชั่นของฮาร์ดดิสก์ที่ติดตั้งอยู่ที่โปรแกรมระบบปฏิบัติการไว้ โดยข้อมูลที่สำรองจะเป็นแบบ อิมเมจไฟล์โดยอิมเมจไฟล์จัดเป็นไฟล์ชนิดหนึ่ง ที่เก็บรายละเอียดข้อมูลทั้งหมดในระดับเซ็กเตอร์ ใช้เวลาในการคัดลอกน้อยกว่าปกติ และไม่สามารถเปิดอ่านได้จนกว่าจะมีการกู้คืนข้อมูล

การสำรองไฟล์ข้อมูลทั่วไป

    การสำรองทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสารต่างๆ ไฟล์รูปภาพ หรือไฟล์วิดีโอ อื่นๆก็ตามนอกจากจะใช้วิธีการคัดลอกเพื่อสำรองข้อมูลแล้วยังสามารถใช้วิธีการสำรองข้อมูลรูปแบบไฟล์โดยเฉพาะอีกด้วย และหากต้องการใช้งานก็ใช้วิธีการกู้คืนไฟล์กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม

ตัวอย่างโปรแกรมยูทิลิตี้ที่น่าสนใจ

    โปรแกรม CPU-Z
http://www.com250.com/wp-content/uploads/2012/07/softwares-cpuz.jpg 


    โปรแกรม Mem Test
    Mem Test สามารถช่วยตรวจสอบหน่วยความจำที่ใช้อยู่ว่าสภาพดีหรือไม่ พร้อมใช้งานหรือเปล่า
http://www.memtest.org/pics/amd64-big.gif

โปรแกรม PC Tools Registry Mechanic
     Registry เป็นศูนย์ข้อมูลของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เป็นแหล่งเก็บสารสนเทศและค่าทุกๆอย่างของตัวระบบปฏิบัติการ


http://www.pctools.com/res/images/registry-mechanic/registry-mechanic_main_large.png


โปรแกรมบีบอัดไฟล์ WinRaR
    เป็นโปรแกรมยอดนิยม ทำหน้าที่บีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็กลงและสามารถคลายไฟล์ที่บีบอัดให้กลับมาเป็นไฟล์ต้นฉบับเพื่อนำไปใช้งาน โปรแกรมนี้นอกจากจะช่วยให้มีขนาดเล็กลงแล้ว ยังช่วยทำให้พื่นที่การใช้งานเหลือเยอะอีกด้วย
http://i.imgur.com/odS2FFw.png


แบบทดสอบประเมินผลการเรียนรู้8

จงตอบคำถามต่อไปนี้



1.โปรแกรมยูทิลิตี้คืออะไร จงอธิบาย

ตอบ เป็นโปรแกรมประเภทหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนและเพิ่มเติมขีดความสามารถของโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น

2.จงสำรวจเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนตัวของนักเรียน ว่ามีการติดตั้งโปรแกรมยูทิลิตี้ตัวใดบ้าง ด้วยการระบุเป็นข้อๆ (ไม่นับรวมโปรแกรมยูทิลิตี้ที่ติดมากับวินโดวส์)
ตอบ        1.โปรแกรมดูแลป้องกันไวรัส
       2.โปรแกรมติดตั้งเพื่อความบันเทิง
       3.โปรแกรมด้านการพิมพ์
       4.โปรแกรมเกี่ยวกับภาพ
       5.โปรแกรมถอนการติดตั้ง

3.จงสรุปหน้าที่การทำงานโดยย่อของโปรแกรม CPU-Z
ตอบ บอกคุณสมบัติของ CPU

4.จงสรุปหน้าที่การทำงานโดยย่อของโปรแกรม Mem Test
ตอบ ใช้ตรวจสอบว่าหน่วยความจำที่ใช้งานอยู่ ยังคงสภาพดี พร้อมใช้งานอยู่หรือป่าว

5.จงสรุปหน้าที่การทำงานโดยย่อของโปรแกรม PC Tools Registry Mechanic
ตอบ ใช้ล้างและสแกนเครื่อง ทำให้มีพื้นที่ว่างเพิ่มขึ้น

6.จงสรุปหน้าที่การทำงานโดยย่อของโปรแกรม WinRAR
ตอบ ทำหน้าที่บีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็กลง และสามารถคลายไฟล์บีบอัดให้กลับมาเป็นไฟล์ต้นฉบับเพื่อนำไปใช้งานต่อไป

7.แนวทางในการป้องกันไวรัส ประกอบด้วยอะไรบ้าง จงสรุปมาพอเข้าใจ
ตอบ ควรติดตั้งซอฟแวร์ป้องกันไวรัสที่เชื่อถือได้ และสามารถอัพเดทฐานข้อมูลไวรัสและเครื่องมือได้ตลอด


8.อยากทราบว่านักเรียนเคยใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสตัวใดบ้าง จงระบุเป็นข้อๆ และมีความชื่นชอบโปรแกรมป้องกันไวรัสตัวใดมากที่สุด เพราะอะไร
ตอบ 1. Avira
        2. Avast 

9.จงสรุปหลักการสำรองของข้อมูลและวิธีการกู้คืน ด้วยโปรแกรม Backup and Restore ที่ผนวกมากับระบบปฏิบัติการวินโดวส์มาให้พอเข้าใจ
ตอบ  เข้าไปยัง Backup and restore ให้คลิกที่ Set up backup ต่อไปให้เลือกไดรฟ์ปลายทางที่ต้องการในที่นี้จะสำรองลงในแฟลไดรฟ์ แล้วคลิกปุ่ม Next

ตอนที่ 2 ปฏิบัติการฝึกทักษะ



หน้าตาของโปรแกรม Wintools


แถบเมนูใช้สำหรับตั้งค่าคอมพิวเตอร์


ใช้สำหรับสแกนไวรัส


ใช้สำหรับถอนการติดตั้งไฟล์หรือโฟลเดอร์





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น