วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

การใช้งาน Task Manager

 Task Manager 

 Task Manager เป็นอีกเครื่องมือในการแก้ปัญหา Windows ได้หลากหลายอาการ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมค้าง หรือ Freez หรือเป็นการตรวจสอบโปรแกรมต่างๆว่ามีการใช้งานเหมาะสมหรือไม่

วิธีการเรียกใช้งาน  Task Manager  

สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
  • Ctrl + Alt + Shift
  • คลิกขวาที่บริเวณ Task Bar แล้วเลือกที่หัวข้อ  Task Manager 
  • กดปุ่ม Ctrl + Shift + Esc

โปรแกรม  Task Manager  ทำอะไรได้บ้าง 

  1. แก้ปัญหาโปรแกรมค้าง ให้ลคิกไที่แท็บ Application ถ้าโปรแกรมขึ้นว่า Not response แสดงว่าโปรแกรมมีปัญหา ให้คลิกเลือกที่โปรแกรมนั้นแล้วคลิกที่ปุ่ม End Task



2. แท็ป Processes เป็นแท็ปที่แสดงรายชื่อโปรแกรมที่ทำงานอยู่เราอาจไม่สามารถรู้จักได้หมด และให้เราดูเฉพาะโปรแกรมที่เปิดอยู๋ก็พอ ลองดูที่คอลัม Mem Users ซึ่งจะเป็นการแสดงว่าโปรแกรมที่ใช้งานนั้นใช้หน่วยความจำไปเท่าใด ถ้ามากก็แสดงว่าไม่เป็นผลดีต่อเครื่อง


3. แท็ป Perfomence เป็นแท็ปที่แสดงการใช้หน่วยระมวลผลมากน้อย ถ้ามีการใช้มากเกินไปเครื่องก็อาจจะค้างได้เหมาะกับการตรวจสอบสถานะของเครื่องคอมพิวเตอร์เมื่อมีปัญหา หรือเรียกว่าการ Moniter เครื่องคอม


4. แท็ป Networking ใช้สำหรับการตรวจสอบวิเคราะห์การทำงานเครือข่ายของเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าขณะนั้นเชื่อมต่อแบไร้สายหรือแบบใช้สายแลน

5. แท็ปสุดท้าย Users เป็นแท็ปที่แสดงผู้ใช้งานในคอมพิวเตอร์ของเรา อาจมีมากกว่าหนึ่ง ถ้ามีการ Remote เข้ามาในเครื่องของเรา อย่างไรก็ตามเราสามารถสั่ง Disconnect เพื่อยกเลิกการเชื่อมต่อได้




 ที่มาข้อมูลเนื้อหา
http://www.it-guides.com/computer-tips/windows-tips/task-manager






บทที่ 9 การรักษาความปลอดภัยของระบบ

ความหมายของแพล็ตฟอร์ม

    แพล็ตฟอร์ม หมายถึงสภาพแวดล้อมของระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่สามารถทำงานร่วมกันได้ กล่าวคือ ซฮฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการต่างๆ ล้วนสร้างขึ้นเพื่อใช้งานภายใต้สถาปัตยกรรมระบบฮาร์ดแวร์ที่มีความเข้ากันได้ ตัวอย่างเช่น พีซีแพล็ตฟอร์มส่วนใหญ่มักใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ที่รันอยู่ภายใต้สถาปัตยกรรมซีพียูแบบ x86/64 โดยใช้ซ๊พียูแบบ CISC

การรักษาความปลอดภัยบนวินโดวส์แพล็ตฟอร์ม

    คอมพิวเตอร์แบบพีซีที่ใช้กันทั่วไป ล้วนมีความจำเป็นต้องมีโปรแกรมป้องกันไวรัสทั้งนั้น เพื่อป้องกันหรือกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ เพราะทุกวันนี้การใช้งานคอมพิวเตอร์ล้วนแต่มีการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงำให้มีโอกาสที่คอมพิวเตอร์จะติดไวรัสได้
ซึ่งการตั้งค่าที่เหมาะสมจะช่วยให้ระบบมีความปลอดภัยมากขึ้น โดยมีวิธีการดังนี้

เข้าไปที่ Control Panel แล้วเลือกที่หัวข้อ System and Security
คลิกที่ Avtion Center
จะพบรายละเอียดต่างๆเกี่ยวกับความปลอดภัย และการบำรุงรักษารวมถึงการตั้งค่าต่างๆด้วย

แบบทดสอบประเมินผลการเรียนรู้9
จงตอบคำถามต่อไปนี้

1.แพล็ตฟอร์มหมายถึงอะไร จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ หมายถึง สภาพแวดล้อมของระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่มีความเข้ากันได้ และสามารถทำงานร่วมกันได้ เช่น พีซีแพล็ตฟอร์ม

2.จงสรุปการรักษาความปลอดภัยบนวินโดวส์  (Windows) แพล็ตฟอร์มมาให้พอเข้าใจ
ตอบ จะมุ่งเน้นการตั้งค่าในตัวโปรแกรมระบบปฏิบัติการเป็นหลัก ซึ่งการตั้งค่าที่เหมาะสมจะช่วยให้ระบบมีความปลอดภัยมากขึ้น

3.จงสรุปการรักษาความปลอดภัยบนไอโอเอส (iOS) แพล็ตฟอร์มมาให้พอเข้าใจ
ตอบ iOS เป็นระบบปฏิบัติการแบบปิด พัฒนาโดยบริษัท แอปเปิลคอมพิวเตอร์ จัดเป็นระบบปฏิบัติการที่ออกแบบมาเพื่อใช้งานบนเครื่องแท็บเล็ตและโทรศัพท์เคลื่อนที่ (สมาร์ทโฟน) ที่มีระบบความปลอดภัยสูงทีเดียว

4.จงสรุปการรักษาความปลอดภัยบนแอนดรอยด์ (Android) แพล็ตฟอร์มมาให้พอเข้าใจ
ตอบ  Android เป็นระบบเปิด จึงทำให้ผู้ที่มีความรู้ในการเข้าถึงชุดคำสั่งภายใน สามารถสร้างโปรแกรมเฉพาะขึ้นมาเพื่อเข้าไปก่อกวนส่วนการทำงานภายในนั้นได้ ประกอบกับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายจึงทำให้เหล่าผู้สร้างหรือแฮกเกอร์เมื่อคิดจะเข้าไปจ้องก่อกวนหรือทำลาย

5.ความปลอดภัยขั้นพื้นฐานสำหรับการใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่อย่างแท็บเล็ตหรือสมาร์ทโฟนมีอะไรบ้าง
ตอบ   - การตั้งล็อกอัตโนมัติ    - การตั้งรหัสผ่าน

6.อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่นักเรียนใช้งานอยู่ ไม่ว่าจะเป็นพีซี แท็บเล็ต หรือสมาร์ทโฟน ลำพังตัวนักเรียนเองมีระบบการป้องกันความปลอดภัยอะไรบ้างให้กับเครื่อง
ตอบ  ตั้งรหัสผ่านเพื่อให้บุคคลอื่นไม่สามารถเข้าถึงอุปกรณ์ของเรา

7.นักเรียนคิดว่า Find My iPhone ซึ่งเป็นแอปติดตามมือถือที่ทางแอปเปิลบริการแก่ผู้ใช้อุปกรณ์จากค่ายแอปเปิล มีประโยชน์หรือไม่ อย่างไร
ตอบ มีประโยชน์ เพราะ ถ้าสมาร์ทโฟนหายหรือถูกขโมย แอพนี้จะเป็นตัวช่วยในการค้นหา จากตำแหน่งที่ตั้งของตัวเครื่อง


8.ระหว่างระบบปฏิบัติการ iOS และ Android นักเรียนมีความพอใจต่อระบบปฏิบัติการตัวใดเป็นพิเศษ เพราะอะไร จงบอกเหตุผลประกอบ
ตอบ Android เพราะ เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้งานง่าย

9.ระบบปฏิบัติการแบบเปิดกับแบบปิด คืออะไร จงอธิบาย
ตอบ ระบบปฏิบัติการแบบเปิด คือ ระบบปฏิบัติการที่ให้ผู้บริการใช้หรือดัดแปลงได้ฟรี
 ระบบปฏิบัติการแบบปิด คือ ระบบปฏิบัติการที่ให้ใช้ได้เฉพาะกับเครื่องของบริษัทเท่านั้น

10.เพราะเหตุใด ทำไม Android จึงมีความเสี่ยงต่อภัยคุกคามต่างๆ มากกว่า iOS
ตอบ เพราะ Android เป็นระบบเปิด

บทที่ 8 โปรแกรมยูทิลิตี้

โปรแกรมยูทิลิตี้


ความหมายของโปรแกรมยูทิลิตี้

    โปรแกรมยูทิลิตี้หรือโปรแกรมอรรถประโยชน์ จัดอยู่ในประเภทหนึ่งของซฮฟต์แวร์ระบบที่ถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนและเพิ่มขีดความสามารถของโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ ณ ขณะนั้น ทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น โปรแกรมนี้จะถูกสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์อะไรขึ้นอยู่กับผู้สร้าง เช่นโปรแกรมบำรุงรักษาระบบ โปรแกรมสำรองข้อมูลและการกู้คืนข้อมูล หรือโปรแกรมเพื่อการปรับจูนระบบ เป็นต้น
    ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ โดยปกติได้มีการผนวกโปรแกรมยูทิลิตี้มาให้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น และมีขีดจำกัดข้างต้นเท่านั้น ดังนั้นแนวทางที่เราจะสามารถแก้ปัญหาได้จึงจำเป็นต้องหาโปรแกรมยูทิลิตี้จากผู้ผลิตรายอื่นมาใช้นั่นเอง

ยูทิลิตี้สำหรับป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์

    โปรแกรมสำหรับป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์ จัดเป็นยูทิลิตี้อย่างหนึ่ง ที่ถูกนำมาใช้เพื่อป้องกันและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ที่แฝงมากับไฟล์ข้อมูลต่างๆ รวมถึงระบบเครือข่ายโดยเฉพาะอินเทอร์เน็ต โปรแกรมป้องกันไวรัสจำเป็นต้องติดตั้งลงคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่มีการใช้งาน เพราะในปัจจุบันคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องคงหนีไม่พ้นกับการถ่ายโอน คัดลอกข้อมูลผ่านสื่อต่างๆ หรือการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นช่องทางที่เครื่งสามารถติดไวรัสได้ทั้งสิ้น

แนวทางการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์
    ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีการใดๆ ที่สามารถกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์ได้แน่นอน 100% แต่ก็มีแนวทางป้องกันอยู่หลายทางด้วยกัน ที่สามารถนำมาปฏิบัติเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสคอมพิวเตอร์ได้

1. หลีกเลี่ยงการใช้สื่อจากแหล่งอื่นในการบูตเครื่อง
    คอมพิวเตอร์นอกจากบูตเครื่องจากตัวฮาร์ดดิสก์ในตัวเครื่องได้แล้ว ยังสามารถสั่งบูตจากแผ่น ซีดี/ดีวีดี รวมถึงการสั่งบูตจากแฟลชไดรฟ์ได้อีกด้วย ให้หลีกเลี่ยงการบูตจากสื่ออื่นที่ไม่รู้แหล่งที่มาซึ่งจะสามารถช่วยลดโอกาสในการจู่โจมของไวรัสได้ทางหนึ่ง

2. ตั้งค่าระดับความปลอดภัยในโปรแกรมประยุกต์เพื่อป้องกันไวรัสมาโคร
    เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า ไวรัสแบบมาโครนั้น มักก่อกวนผู้ใช้ผ่านชุดโปรแกรมออฟฟิศ แต่โปรแกรมประยุกต์อย่าง MS-Word ได้มีการตรียมระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันการคุกคามจากไวรัสประเภทนี้เช่นกัน ผู้ใช้สามารถเข้าไปตั้งค่าระบบความปลอดภัยให้สูงขึ้นได้ด้วยตนเอง

3. การใช้โปรแกรมป้องกันไวรัส
    เป็นการป้องกันไวรัส ด้วยการติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสไว้ภายในเครื่อง และในปัจจุบันโปรแกรมเหล่านี้ก็ค่อนข้างมีประสิทธิภาพมากขึ้นจากสมัยก่อน สามารถตรวจสอบพบไวรัสที่แฝงตัวอยู่ในเครื่องเราได้ และส่งสัญญาณเตือน และยังสามารถกำจัดไวรัสเหล่านั้นออกไปจากเครื่องเราได้ แต่สำหรับโปรแกรมป้องกันไวรัสนั้น ต้องหมั่นอัปเดตให้ทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ เพราะมีไวรัสเกิดใหม่ทุกๆวัน  การอัปเดตจึงเป็นวิธีที่สำคัญสำหรับโปรแกรมเหล่านี้

4. ไม่ควรเปิดไฟล์เอกสารที่มีไวรัสแฝงอยู่
    หากไฟล์ข้อมูลต่างๆที่ได้รับจากแหล่งอื่นที่ไม่รู้ที่มาโดยเครื่องีการร้องเตือนว่าไฟล์ดังกล่าวมีตัวไวรัสแฝงตัวมาให้ทำการลบไฟล์นั้นออกจากเครื่องทันที และไม่ควรทดลองเปิดไฟล์ดังกล่าว ไม่ว่าวิธีใดก็ตาม

5. ตรวจสอบสื่อบันทึกข้อมูลก่อนใช้งานเสมอ
    ก่อนการใช้งานสื่อบันทึกข้อมูลชนิดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แฟลชไดรฟ์ หรือ แผ่น ซ๊ดี / ดีวีดี ต่างๆ ควรทำการสแกนไวรัสก่อนเสมอ เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่าสื่อบันทึกนั้นๆ มีไวรัสแฝงมาหรือไม่ การสแกนเพื่อให้มั่นใจว่าไม่มีไวรัสใดๆ ติดมากับส่อนั้นๆ

6. ป้องกันข้อมูลด้วยการ Write Protect
    กรณีต้องการเขียนข้อมูลลงในดิสก์ เช่นแผ่นข้อมูล แผ่นบูต หรือไฟล์งานอื่นๆ ควรป้องกันด้วยการ Write Protect แผ่นดิสก์นั้นด้วย เนื่องจากการ Write Protect นั้นเป็นการทำให้ไฟล์ที่บันทึกอ่านได้อย่างเดียว ทำให้ไวรัสไม่สามารถเขียนข้อมูลทับลงไปได้ แฟลชไดร์ฟบางรุ่นก็มีปุ่มเลื่อนเพื่อป้องกันการบันทึกได้อีกด้วย

7. หมั่นสำรองข้อมูล
    เพื่อป้องกันการเสียหายของข้อมูล เพราะหากเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นมาจริงๆ ก็ยังมีข้อมูลที่สำรองไว้อยู่ ซึ่งการสำรองข้อมูลนั้น ควรทำให้ติดเป็นนิสัยเพื่ออัปเดตข้อมูลที่มีอยู่


ยูทิลิตี้เพื่อการสำรองและกู้คืนข้อมูล

    ข้อมูลเป็นสิ่งที่มีค่าอย่างหนึ่งโดยเฉพาะสารสนเทศต่างๆที่บันทึกอยู่ในคอมพิวเตอร์ของเรา เราไม่สามารถเดาได้เลยว่าข้อมูลของเราจะเสียหายไปเมื่อใด และการใช้งานของแต่ละคนก็แตกต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง คอมพิวเตอร์บางเครื่องใช้งานส่วนตัว บางเครื่องใช้งานแบบส่วนรวม แนวทางที่ดีที่สุดสำหรับป้องกันการเสียหายของข้อมูลนั่นก็คือ การสำรองข้อมูลนั่นเอง
    สำหรับวิธีการสำรองข้อมูลแบบง่ายที่สุดก็คือ การสำเนาข้อมูลต่างๆไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร หรือไฟล์อื่นๆด้วยการคัดลอกเก็บไว้ในสื่อบันทึกต่างๆ นอกจากนี้เรายังสามารถสำรองข้อมูลระบบของเราได้อีกด้วย ข้อมูลระบบนั้นถือเป็นข้อมูลสำคัญและในการสำรองจะต้องใช้ซอฟต์แวร์เข้ามาช่วย

การสำรองข้อมูลระบบ 

    บางครั้งในการใช้งานก็จะมีความผิดพลาดของระบบเช่น วินโดวส์มีอาการรวน ทำให้เราต้งตัดสินใจล้างเครื่องและติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ต่างๆใหม่ทั้งหมดซึ่งเป็นเรื่องที่เสียเวลา โโยเฉพาะการติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ต่างๆเป็นจำนวนมาก แต่ถ้าหากมีการสำรองข้อมูลไว้ก็จะทำให้ทุกอย่างกลายเป็นเรื่องที่ง่ายด้วยการกู้คืนข้อมูลระบบให้กลับคืนมาทำงานใหม่ได้
การสำรองข้อมูลระบบนั้นไม่สามารถทำด้ด้วยการคัดลอกเหมือนกับการคัดลอกไฟล์ทั่วๆไป แต่จะเป็นการสำรองระดับพาทิชั่นของฮาร์ดดิสก์ที่ติดตั้งอยู่ที่โปรแกรมระบบปฏิบัติการไว้ โดยข้อมูลที่สำรองจะเป็นแบบ อิมเมจไฟล์โดยอิมเมจไฟล์จัดเป็นไฟล์ชนิดหนึ่ง ที่เก็บรายละเอียดข้อมูลทั้งหมดในระดับเซ็กเตอร์ ใช้เวลาในการคัดลอกน้อยกว่าปกติ และไม่สามารถเปิดอ่านได้จนกว่าจะมีการกู้คืนข้อมูล

การสำรองไฟล์ข้อมูลทั่วไป

    การสำรองทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสารต่างๆ ไฟล์รูปภาพ หรือไฟล์วิดีโอ อื่นๆก็ตามนอกจากจะใช้วิธีการคัดลอกเพื่อสำรองข้อมูลแล้วยังสามารถใช้วิธีการสำรองข้อมูลรูปแบบไฟล์โดยเฉพาะอีกด้วย และหากต้องการใช้งานก็ใช้วิธีการกู้คืนไฟล์กลับมาใช้งานได้เหมือนเดิม

ตัวอย่างโปรแกรมยูทิลิตี้ที่น่าสนใจ

    โปรแกรม CPU-Z
http://www.com250.com/wp-content/uploads/2012/07/softwares-cpuz.jpg 


    โปรแกรม Mem Test
    Mem Test สามารถช่วยตรวจสอบหน่วยความจำที่ใช้อยู่ว่าสภาพดีหรือไม่ พร้อมใช้งานหรือเปล่า
http://www.memtest.org/pics/amd64-big.gif

โปรแกรม PC Tools Registry Mechanic
     Registry เป็นศูนย์ข้อมูลของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ เป็นแหล่งเก็บสารสนเทศและค่าทุกๆอย่างของตัวระบบปฏิบัติการ


http://www.pctools.com/res/images/registry-mechanic/registry-mechanic_main_large.png


โปรแกรมบีบอัดไฟล์ WinRaR
    เป็นโปรแกรมยอดนิยม ทำหน้าที่บีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็กลงและสามารถคลายไฟล์ที่บีบอัดให้กลับมาเป็นไฟล์ต้นฉบับเพื่อนำไปใช้งาน โปรแกรมนี้นอกจากจะช่วยให้มีขนาดเล็กลงแล้ว ยังช่วยทำให้พื่นที่การใช้งานเหลือเยอะอีกด้วย
http://i.imgur.com/odS2FFw.png


แบบทดสอบประเมินผลการเรียนรู้8

จงตอบคำถามต่อไปนี้



1.โปรแกรมยูทิลิตี้คืออะไร จงอธิบาย

ตอบ เป็นโปรแกรมประเภทหนึ่งที่ถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนและเพิ่มเติมขีดความสามารถของโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงขึ้น

2.จงสำรวจเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนตัวของนักเรียน ว่ามีการติดตั้งโปรแกรมยูทิลิตี้ตัวใดบ้าง ด้วยการระบุเป็นข้อๆ (ไม่นับรวมโปรแกรมยูทิลิตี้ที่ติดมากับวินโดวส์)
ตอบ        1.โปรแกรมดูแลป้องกันไวรัส
       2.โปรแกรมติดตั้งเพื่อความบันเทิง
       3.โปรแกรมด้านการพิมพ์
       4.โปรแกรมเกี่ยวกับภาพ
       5.โปรแกรมถอนการติดตั้ง

3.จงสรุปหน้าที่การทำงานโดยย่อของโปรแกรม CPU-Z
ตอบ บอกคุณสมบัติของ CPU

4.จงสรุปหน้าที่การทำงานโดยย่อของโปรแกรม Mem Test
ตอบ ใช้ตรวจสอบว่าหน่วยความจำที่ใช้งานอยู่ ยังคงสภาพดี พร้อมใช้งานอยู่หรือป่าว

5.จงสรุปหน้าที่การทำงานโดยย่อของโปรแกรม PC Tools Registry Mechanic
ตอบ ใช้ล้างและสแกนเครื่อง ทำให้มีพื้นที่ว่างเพิ่มขึ้น

6.จงสรุปหน้าที่การทำงานโดยย่อของโปรแกรม WinRAR
ตอบ ทำหน้าที่บีบอัดไฟล์ให้มีขนาดเล็กลง และสามารถคลายไฟล์บีบอัดให้กลับมาเป็นไฟล์ต้นฉบับเพื่อนำไปใช้งานต่อไป

7.แนวทางในการป้องกันไวรัส ประกอบด้วยอะไรบ้าง จงสรุปมาพอเข้าใจ
ตอบ ควรติดตั้งซอฟแวร์ป้องกันไวรัสที่เชื่อถือได้ และสามารถอัพเดทฐานข้อมูลไวรัสและเครื่องมือได้ตลอด


8.อยากทราบว่านักเรียนเคยใช้โปรแกรมป้องกันไวรัสตัวใดบ้าง จงระบุเป็นข้อๆ และมีความชื่นชอบโปรแกรมป้องกันไวรัสตัวใดมากที่สุด เพราะอะไร
ตอบ 1. Avira
        2. Avast 

9.จงสรุปหลักการสำรองของข้อมูลและวิธีการกู้คืน ด้วยโปรแกรม Backup and Restore ที่ผนวกมากับระบบปฏิบัติการวินโดวส์มาให้พอเข้าใจ
ตอบ  เข้าไปยัง Backup and restore ให้คลิกที่ Set up backup ต่อไปให้เลือกไดรฟ์ปลายทางที่ต้องการในที่นี้จะสำรองลงในแฟลไดรฟ์ แล้วคลิกปุ่ม Next

ตอนที่ 2 ปฏิบัติการฝึกทักษะ



หน้าตาของโปรแกรม Wintools


แถบเมนูใช้สำหรับตั้งค่าคอมพิวเตอร์


ใช้สำหรับสแกนไวรัส


ใช้สำหรับถอนการติดตั้งไฟล์หรือโฟลเดอร์





บทที่ 7 การใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows 7 และเทคนิคพื้นฐานที่ควรรู้

การใช้งาน Gadgets

  แกดเจ็ตส์ (Gadgets) คือโปรแกรมเล็กๆที่สามารถนำมาวางไว้บนเดสก์ท็อปเพื่อใช้งานตามคุณสมบัติของโปรแกรมแกดเจ็ตส์นั้นๆ สำหรับระบบปฎิบัติการ Windows 7 ได้เตรียมแกดเจ็ตส์มาให้ส่วนหนึ่ง แต่ผู้ใช้ก็สามารถเลือกแกดเจ็ตส์ใหม่ๆ จากการดาวน์โหลดผ่านอินเทอร์เน็ตมาใช้เพิ่มเติมได้ อย่างไรก็ตาม โปรแกรมแกดเจ็ตส์บางตัว จำเป็นต้องเชื่อมอินเทอร์เน็ตเพื่ออ่านค่าล่าสุดมาใช้งาน เช่น โปรแกรมตรวสสอบสภาพภูมิอากาศ และโปรแกรมแสดงค่าเงิน เป็นต้น
ขั้นตอนการเรียกใช้งานแกดเจ็ตส์

คลิกขวาที่เมาส์บนเดสก์ท็อปเลือกรายการ Gadgets


เลือกรายการแล้วกด Add

คอนโทรลพาเนล (Control Panel)

  คอนโทรลพาเนล เปรียบเสมือนแผงควบคุมการทำงาน ซึ่งเป็นศูนย์รวมของโปรแกรมสำคัญต่างๆ ที่ผู้ใช้สามารถเจ้าไปตั้งค่าและเรียกใช้งาน อีกทั้งภายในคอนดทรลพาเนลยังได้รับการจัดหมู่โปรแกรมต่างๆ อย่างมีระบบ เพื่อสร้างความสะดวกต่อผู้ใช้ในการที่จะเข้าไปใช้งาน และต่อไปนี้จะนำเสนอการใช้งานโปรแกรมบางส่วนภายในคอนโทรลพาเนล
การตั้งวันที่และเวลา


เข้าไปที่ Control Panel คลิกที่ Clock



คลิกที่ปุ่ม Change date and time

ตรง Date สามารถใช้เมาส์คลิกเพื่อเปลี่ยนวันที่


ในการเปลี่ยนเวลา ให้ใช้เมาส์คลิกตรงตำแหน่งชั่วโมง:นาที:วินาที




การจัดการไฟล์และโฟลเดอร์


การใช้คอมพิวเตอร์ในทุกวันนี้ ล้วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลทั้งสิ้น โดยข้อมูลหรือเอกสารสำคัญต่างๆ อาจถูกสร้างขึ้นด้วยโปรแกรมต่างๆ เช่น MS-Word, MS-Excel หหรือ MS-PowerPoint รวมถึงการป้อนข้อมูลธุรกรรมประจำวันผ่านตัวโปรแกรมเพื่อบันทึกลงในฐานข้อมูล ดังนั้น ภายในคอมพิวเตอร์ (ฮาร์ดดิสก์) ก็จะเต็มไปด้วยไฟล์ต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นไฟล์ที่เกี่ยวข้องกับโปรแกรมระบบปฏิบัติการ และไฟล์ที่ถูกสร้างขึ้นจากตัวผู้ใช้เอง
หน้าต่างคอมพิวเตอร์ Computer (หรือเปิด Windows Explorer แล้วคลิกที่หัวข้อเมนู Computer) นอกจากนำาใช้จัดการไฟล์และโฟลเดอร์ต่างๆแล้ว ที่แถบเมนูยังมีการเตรียมปุ่มต่างๆ เพื่อให้เราสามารถเข้าถึงและจัดการงานบางอย่าง เช่น

แถบเมนูบนหน้าต่าง This PC

ที่หน้าต่าง This PC จะพบฝั่งซ้าย จะแสดงทั้งโฟล์เดอร์และไดรฟ์

เมื่อคลิกหัวข้อ Quick acces  จะเข้าสู่การจัดไฟล์บนโฟล์เดอร์ต่างๆ


ซึ่งประกอบด้วยโฟลเดอร์ย่อยต่างๆ ดังนี้
Documents เป็นโฟลเดอร์ที่วินโดวส์สร้างขึ้นมา เพื่อจัดเก็บไฟล์เอกสารทั่วไป
Music เป็นโฟล์เดอร์ที่วินโดวส์สร้างขึ้นมา เพื่อจัดเก็บไฟล์เพลง
Pictures เป็นโฟล์เดอร์ที่วินโดวส์สร้างขึ้นมา เพื่อจัดเก็บไฟล์ภาพ
Videos เป็นโฟล์เดอร์ที่วินโดวส์สร้างขึ้นมา เพื่อจัดเก็บไฟล์วิดีโอ

แนวคิดการจัดการไฟล์และโฟลเดอร์
แน่นอนว่า ไฟล์ข้อมูลต่างๆ ที่อยู่ภายในคอมพิวเตอร์ ย่อมมีอยู่มากมายหลายประเภท ซึ่งอยู่ลักษณะงานของแต่ละบุคคลเป็นสำคัญ ในขณะเดียวกัน แต่ละคนก็จะมีวิธีการจัดเก็บไฟล์ข้อมูลเหล่านั้นตามวิถีทางของตน โดยมิได้มีกฎเกณฑ์บังคับแต่อย่างใด แต่ถ้ามีการจัดหมวดหมู่ไฟล์อย่างเป็นระเบียบ มีการตั้งชื่อไฟล์ที่สื่อความหมาย ย่อมนำไปสู่การค้นหาหรือเรียกใช้งานไฟล์ได้ง่ายและรวดเร็วยิ่งขึ้น โดนเนื้อหาต่อไปนี้ จะแนะนำถึงวิธีการจัดเก็บไฟล์และโฟลเดอร์ที่ถูกต้อง และสามารถปฏิบัติตามได้ไม่ยาก

1.ควรจัดเก็บไฟล์ข้อมูลต่างๆ แยกออกจากไฟล์โปรแกรม
 เป็นวิธีที่หลายๆคน ที่ใช้คอมพิวเตอร์มายาวนานมักนิยมใช้ ซึ่งถือเป็นสิ่งที่น่ากระทำตากล่าวคือ โดยส่วนใหญ่แล้ว คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่ทั่วไปมักใช้ฮาร์ดดิสก์เพียง 1 ตัว ดังนั้นการแบ่งพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ออกเป็น 2 ส่วน หรือที่เรียกว่าการแบ่งพาร์ทิชั่น (Partition) ทำให้เราสามารถแยกจัดเก็บไฟล์ได้อย่างชัดเจน โดยตัวโปรแกรมระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ต่างๆจะเก็บอยู่ที่ไดรฟ์ C:ส่วนไดรฟ์ D:จะเก็บไฟล์ข้อมูลทั่วไปของเรา ซึ่งวิธีนี้มีข้อดีคือ
 - กรณี Windows รวน, เสียหาย หรือต้องการติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่ ก็สามารถติดตั้งลงในไดรฟ์ C: ได้ทันที โดยไม่ส่งผลต่อไดรฟ์ D: (ถ้าดำเนินการอย่างถูกต้อง)
 - การสำรองข้อมูล จะทำง่ายขึ้น ด้วยการสำรองทั้งไดรฟ์ หรือสำรองในระดับพาร์ทิชั่น

2. ไม่ควรเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ที่ถูกสร้างขึ้นจากโปรแกรมติดตั้ง
 ในขณะที่มีการติดตั้งโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ โปรแกรมประยุกต์เหล้านั้นจะสร้างโฟลเดอร์ของตนขึ้นมา เพื่อเก็บข้อมูลของตัวโปรแกรมเอาไว้ และตำแหน่งโฟลเดอร์นี้เอง จะถูกนำมาใช้อ้างอิงในการเข้าถึงไฟล์ข้อมูลสำคัญๆ เมื่อมีการสั่งรันโปรแกรม ดังนั้น ภายหลังจากการติดตั้งโปรแกรมประยุกต์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ไม่ควรเข้าไปเปลี่ยนชื่อโฟลเดอร์ รวมถึงห้ามลบหรือโยกย้ายตำแหน่งจัดเก็บไฟล์ เพราะจะให้การอ้างอิงเพื่อการเข้าถึงไฟล์ผิดเพี้ยนไปจากเดิม ส่งผลให้หาไฟล์ไม่พบ ทำให้โหลดโปรแกรมขึ้นมาใช้งานไม่ได้ในที่สุด

3. ควรจัดเก็บไฟล์ข้อมูลเพียงชุดเดียว
 เป็นไปได้ว่า ปัญหาจาการมีไฟล์ข้อมูลหลายๆ ชุด ทั้งๆ ที่เป็นข้อมูลเรื่องเดียวกัน จึงทำให้เกิดความสับสนว่า ไฟล์ชุดไหนเป็นข้อมูลล่าสุด ปัญหานี้ อาจเกิดความหวังดีในเรื่องการสำรองข้อมูลเผื่อไว้ แค่บังเอิญสำรองผิดวิธีผ่านการสร้างโฟลเดอร์ใหม่ๆ แบบไร้ระเบียบ ทำให้ตัวเองเกิดความสับสน สำหรับการเก็บไฟล์ข้อมูลเพียงชุดเดียว ในที่นี้ หมายความว่า หากต้องการเปิดดูหรือแก้ไขข้อมูลใดๆ ของชุดข้อมูลเหล่านั้น ก็ให้ไปเปิดที่โฟลเดอร์นั้นๆ โดยเฉพาะ ไม่ต้องไปหาที่อื่นเพื่อให้เกิดความสับสน ในขณะเดียวกัน หากต้องการสำรองข้อมูลเผื่อไไว้ ก็สามารถสำรองไว้ในสื่อภายนอกอย่าง แฟลชไดรฟ์ ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก หรือในกรณีที่ต้องการสำรองไว้ในฮาร์ดดิสก์เดียวกัน ก็ควรจะสร้างโฟลเดอร์ที่แสดงถึงว่าเป็นโฟลเดอร์ที่สำหรับเก็บข้อมูลสำรองเท่านั้น เช่น ตั้งชื่อโฟลเดอร์ว่า Backup และภายในโฟลเดอร์นี้ก็จะประกอบด้วยโฟลเดอร์ย่อยต่างๆ ที่ใช้สำหรับสำรองข้อมูลเหล่านั้น เพียงแค่นี้ ก็ช่วยลดความสับสนได้แล้ว

4. จัดระเบียบโฟลเดอร์ให้ใช้งานง่ายที่สุด
  การสร้างโฟลเดอร์ย่อย เป็นวิธีพื้นฐานที่ช่วยให้เราสามารถจัดระเบียบข้อมูลได้เป็นอย่างดี คล้ายกับตู้เอกสารที่แต่ละลิ้นชักจะจัดเก็บข้อมูลที่มีการจัดแบ่งประเภทไว้โดเฉพาะ ในขณะเดียวกัน แต่ละลิ้นชัก ก็จะประกอบไปด้วยแฟ้มข้อมูลหมวดต่างๆ อีกจำนวนมาก ดังนั้น หากมีการสร้างโฟลเดอร์ย่อยในระดับลึกลงไปหลายๆ ชั้น จะทำให้ต้องเสียเวลาคลิกเพื่อเปิดโฟล์เดอร์นั้น

5. ให้ตั้งชื่อไฟล์และโฟลเดอร์ที่สื่อความหมายได้ดี
 การตั้งชื่อไฟล์และโฟลเดอร์ที่สื่อความหมายได้ดีนั้น ทำให้เราสารถตีความหมายว่าไฟล์หรือโฟลเดอร์นั้นเก็บข้อมูลอะไรไว้

การเปลี่ยนมุมมองการแสดงผลของไฟล์ 

ที่โปรแกรม Windows Explorer เมื่อเข้าไปยังตำแหน่งโฟลเดอร์ตามที่ต้องการแล้วจะมีรายการไฟล์ข้อมูลต่างๆ แสดงออกมา ซึ่งรายการไฟล์เหล่านี้ เรายังสามารถเข้าไปกำหนดมุมมองการแสดงผลได้



การสร้างโฟลเดอร์

เราสามารถสร้างโฟลเดอร์ใหม่ขึ้นมา เพื่อจัดเก็บไฟล์ลงในโฟลเดอร์ดังกล่าวได้ด้วยวิธีง่ายๆดังนี้


คลิกขวาที่ Windows Explorer แล้วเลือก New folder


กรอกชื่อโฟลเดอร์ลงไป

การจัดเรียงไฟล์ในโฟลเดอร์

รายการไฟล์ต่างๆ เราสามารถให้จัดเรียงใหม่ได้ โดยให้ดูจากด้านบนของราบชื่อไฟล์ จะพบชื่อหัวข้อไฟล์ต่างๆ เช่น Name, Date modified, Type และ Size หากใช้เมาส์คลิกที่หัวข้อใด ก็จะเป็นการเรียงลำดับรายชื่อไฟล์ตามหัวข้อนั้นๆ (กรณีคลิกหัวข้อนั้นซ้ำ จะเปลี่ยนลำดับการเรียง เช่น เรียงจากน้อยไปมาก หรือมากไปน้อย)


ตัวอย่างการจัดเรียง

การคัดลอกไฟล์หรือโฟลเดอร์

ในการเลือกไฟล์ สามารกทำไห้โดย
  • กดปุ่ม Ctrl + A เป็นการเลือกทุกไฟล์
  • กดปุ่ม Ctrl ค้างไว้ แล้วคลิกที่ชื่อไฟล์ เป็นการเลือกที่ละไฟล์ตามที่กำหนด
  • กดปุ่ม Shift ค้างไว้ แล้วคลิกที่ชื่อไฟล์ เป็นการเลือกไฟล์แรกจรดไฟล์สุดท้ายแบบต่อเนื่องกัน

เลือกไฟล์ที่ต้องการคัดลอก แล้วคลิกขวาเลือกรายการ Copy


กรณีต้องการย้ายตำแหน่งเก็บไฟล์ ให้เลือกรายการ Cut 


จากนั้นเข้าไปยังตำแหน่งโฟลเดอร์ที่ต้องการเก็บ แล้วคลิกขวาเลือกรายการ Paste

การใช้คำสั่งบน Command Prompt

สำหรับเนื้อหาต่อไปนี้ จะนำเสนอคำสั่งดอสพื้นฐานที่สำคัญๆ ภายในหน้าต่าง Command Prompt หรือ Command Line บนระบบปฏิบัติการ Windows 10 ซึ่งการเรียนรู้ใช้งานคำสั่งดังกล่าวมีประโยชน์อยู่ไม่น้อยทีเดียว โดยในที่นี้จะขอกล่าวเพียงบางคำสั่งเท่านั้น

การเข้าสู่หน้าต่าง Command Prompt


คลิกขวาที่ Start จะขึ้นเมนูดังรูป


หน้าต่าง Command Prompt ก็จะแสดงออกมาดังรูป



คำสั่ง dir

เป็นคำสั่งแสดงรายชื่อไฟล์ต่างๆ บนดิสก์
การใช้คำสั่ง dir/w เพื่อแสดงรายชื่อไฟล์ตามแนวกว้าง


คำสั่ง cls

เป็นคำสั่งให้ล้างหน้าจอ
เมื่อต้องการล้างหน้าจอ ให้พิมพ์คำสั่ง cls ลงไป




คำสั่ง date

เป็นคำสั่งให่แสดงวันที่ หรือใช้สำหรับกำหนดวันที่ใหม่ โดยหากมีการเปลี่ยนแปลงวันที่ก็จะส่งผลต่อวันที่ในระบบเปลี่ยนแปลงตามด้วย








แบบทดสอบประเมินผลการเรียนรู้7

ตอนที่ 1 จงตอบคำถามต่อไปนี้

1. แกดเจ็ตส์ (Gadgets) คืออะไร นำมาใช้ประโยชน์อย่างไร
ตอบ คือโปรแกรมเล็กๆ ที่สามารถนำมาวางไว้บนเดสก์ท็อบเพื่อใช้งานตามคุณสมบัติของโปรแกรมแกดเจ็ตส์นั้นๆ สามารถตรวจสอบสภาพภูมิอากาศ เวลา และแสดงค่าเงิน

2. ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ จะมีส่วนที่เรียกว่า “Control  Panel” อยากทราบว่า มีส่วนสำคัญต่อการใช้งานอย่างไร
ตอบ เป็นศูนย์รวมของโปรแกรมสำคัญต่างๆ ที่ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปตั้งค่าและเรียกใช้งาน

3. จงสรุปวิธีการตั้งค่าคอมพิวเตอร์ให้สามารถเปิด/ปิดโดยอัตโนมัติ
ตอบ  ขั้นตอนการปิด
- ให้เข้าไปยัง Control Panel ตรง Administrative Tools แล้วเลือกหัวข้อรายการ Schedule tasks เมื่อหน้าต่าง Task scheduler ถูกเปิดออกมาให้คลิกที่รายการ Create Basic Task ให้ตั้งชื่อโดยตั้งชื่อว่า Auto shutdown รายละเอียดให้ระบุเวลาแล้วคลิกปุ่ม Next ตรงหัวข้อ Trigger เลือก Daily
ขั้นตอนการเปิด
- กดปุ่ม Power ใช้ปุ่ม Delete F10 เลื่อนไปยังหัวข้อ Resume by RTC ให้เคาะ Enter เข้าไป แล้วตั้งค่าเป็น Enable จะเกิดหัวข้อ 2 รายการคือ RTC Alarm Date และ RTC Alarm Time ในที่ได้ตั้งค่า RTC Alarm Date เป็น Every Day ต่อไปตั้งเวลาที่ RCT Alarm Time

4. ไบออสคืออะไร  มีส่วนสำคัญต่อคอมพิวเตอร์อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ คือโปรแกรมเล็กๆ ที่ถูกเก็บไว้ในชิป ROM ทำหน้าที่ในการตรวจสอบและควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ และมีส่วนสำคัญมากในการบู๊ตเครื่อง

5. การถอดถอนโปรแกรมออกไปจากเครื่อง จะกระทำเมื่อใด และมีประโยชน์อย่างไร
ตอบ โปรแกรมที่ติดตั้งอยู่ภายในเครื่องไม่ได้ถูกใช้งาน มีประโยชน์คือ จะทำให้เนื้อที่บนฮาร์ดดิสก์เพิ่มขึ้น

6. จงสรุปแนวคิดการจัดการไฟล์และโฟลเดอร์มาให้พอเข้าใจ
ตอบ  เพื่อให้เราสามารถเข้าถึงและจัดการงานบางอย่างอย่างเป็นระเบียบ

7. การคัดลอกแบบ Copy และ Cut มีความแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ แตกต่างที่ไฟล์ต้นทางจะไม่ลบออกไป(Copy) และ ไฟล์ต้นทางจะถูกลบออกไป (Cut)

8. ตามปกติแล้ว ทำไมจึงไม่สามารถเปลี่ยนนามสกุลไฟล์บน Windows Explorer ได้และถ้าหากจำเป็นต้องทำ จะต้องทำอย่างไร และสามารถทำได้ด้วยวิธีใดบ้าง
ตอบ เพราะจะทำให้ไฟล์นั้นถูกเปิดอ่านตามปกติไม่ได้ วิธีการคือเข้าไปตั้งค่าใหม่โดยให้คลิกที่เมนู 
Organize   Folder and Search options ที่แท็บ View ให้นำเครื่องหมายถูกตรงหัวข้อ Hide extensions for known file type ออกไป แล้วตามด้วยปุ่ม Ok จะพบว่ารายชื่อไฟล์ต่างๆจะแสดงชื่อนามสกุลไฟล์ใหม่อีกครั้งก็จะเตือนว่าไฟล์ที่ถูกเปลี่ยนนามสกุลอาจไม่สามารถเปิดอ่านใช้งานได้

9. Command Prompt บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์มีไว้เพื่ออะไร จงอธิบาย
ตอบ  เพื่อให้ผู้ใช้งานทราบรูปแบบการใช้คำสั่ง สามารถให้เครื่องแสดงรายละเอียดHelp ได้ด้วยการพิมพ์ /? ต่อท้ายคำสั่ง

10. คำสั่งในการเปลี่ยนทิศทางการรับส่งข้อมูลบน Command Prompt มีอะไรบ้าง จงสรุปมาให้พอเข้าใจ
ตอบ 1. คำสั่ง dir แสดงรายชื่อไฟล์ต่างๆ
2. คำสั่ง cls ให้ล้างหน้าจอ
3. คำสั่ง date ให้แสดงวันที่
4. คำสั่ง time ให้แสดงเวลา
5. คำสั่ง del ใช้สำหรับลบไฟล์ออกไป
6. คำสั่ง ren สำหรับเปลี่ยนชื่อไฟล์
7. คำสั่ง md,cd ใช้จัดการกับไดเรกทอรีหรือโฟลเดอร์
8. คำสั่ง copy ใช้คัดลอกข้อมูล 

ตอนที่ 3 จงใช้คำสั่ง Command Prompt เพื่อดำเนินการกับโจทย์ที่กำหนดมาให้
กำหนดให้ไดเรกทอรีหรือตำแหน่งโฟลเดอร์ปัจจุบันอยู่ที่ “C:\TEST>”

1.จงแสดงรายชื่อไฟล์ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “Project” โดยตัวถัดไปเป็นตัวอะไรก็ได้ นามสกุลใดก็ได้
1.เปิดโปรแกรม CMD 
2.ย้ายจากไดเรกทอรี C:\Users\win7 ไปที่ C:\Test โดยพิมพ์คำสั่งดังนี้ 
C:\Users\win7> cd C:\Test
3.ได้ผลดังนี้


4.ไฟล์ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า “Project” โดยพิมพ์คำสั่งดังนี้
C:\Test> dir Project.*
5.ได้ผลดังนี้


6.อธิบายได้ดังนี้
คำสั่งคืนข้อมูลของไดร์ฟ C
1. ไม่มีการตั้งชื่อไดร์ฟ
2. ไดร์ฟมีซีเรียลนัมเบอร์ คือ 44C7-FEAC
3. ไดเรกทอรีที่ทำงานอยู่คือ C:\Test
4. ไม่เจอไฟล์ที่ค้นหา

7. ในกรณีที่มีไดเรกทอรีและไฟล์ที่ตรงตามเงื่อนไขการค้นหาคำสั่ง dir จะให้ข้อมูลดังรูป

2. จากข้อที่ 1 หากต้องการแสดงเฉพาะนามสกุล .docx
1. สามารถเลือกไฟล์ที่ต้องการให้แสดงโดยใช้คำสั่งดังนี้
C:\Test>dir *.docx
2. ได้ผลดังนี้


3.จงสร้างโฟลเดอร์ “Budget” ที่อยู่ภายใต้โฟลเดอร์ C:\Test ซึ่งประกอบด้วยโฟลเดอร์ย่อยของปีต่างๆ อันได้แก่ “2556”, “2557” และ “2558”
1.ย้ายจาก C:\Test ไปที่ C:\Test\Budget โดยพิมพ์คำสั่งดังนี้
C:\Test\> cd C:\Test\Budget
2.ได้ผลดังนี้



4. ให้คัดลอกไฟล์ทั้งหมดจากไดร์ฟ G:\doc  ไปเก็บไว้ที่ตำแหน่งโฟลเดอร์ “2557”
1. สามารถเลือกไฟล์ที่ต้องการให้แสดงโดยใช้คำสั่งดังนี้
C:\Test\Budget\2557>copy C:\doc\Data.docx
2. ได้ผลดังนี้


5. ให้คัดลอกไฟล์เฉพาะนามสกุล .ppt จากไดรฟ์ G:\ ไปเก็บไว้ตำแหน่งโฟลเดอร์ “2558”
C:\Test\Budget\2558>copy C:\doc\Test.pptx
ได้ผลดังนี้


6. จงสร้างโฟลเดอร์ย่อยชื่อ “Mana” และ “Meena” บนตำแหน่งโฟลเดอร์ “2556”
1. .ย้ายจากไดเรกทอรี C:\Test\Budget\2558 ไปที่ C:\Test\Budget\2556 โดยพิมพ์คำสั่งดังนี้ 
C:\Test\Budget\2558>cd C:\Test\Budget\2556
2.ได้ผลดังนี้


3.จากนั้นทำการสร้างโฟลเดอร์ Mana และ Meena โดยพิมพ์สั่งดังนี้
C:\Test\Buget\2556>md Mana
C:\Test\Buget\2556>md Meena
4.ได้ผลดังนี้



7.จงเปลี่ยนนามสกุลไฟล์ทั้งหมดที่อยู่บนโฟลเดอร์ “2557” มาเป็นนามสกุล “.OLD”
1. ย้ายจากไดเรกทอรี C:\Test\Budget\2556 ไปที่ C:\Test\Budget\2557 โดยพิมพ์คำสั่งดังนี้ 
C:\Test\Budget\2556>cd C:\Test\Budget\2557
2.ได้ผลดังนี้

3. จากนั้นให้ทำการพิมพ์คำสั่ง ren เพื่อทำการเปลี่ยนสกุลไฟล์เป็น  .OLD
C:\Test\Budget\2557>ren *.docx *.old
4.ได้ผลดังนี้


8.จงลบไฟล์ทั้งหมดบนโฟลเดอร์ “2557” ที่ขึ้นต้นด้วยตัว “D” ตัวถัดไปคือตัวอะไรก็ได้ และ ต้องมีนามสกุลเป็น “.DOC”
1.ให้ทำการสร้างไฟล์ตามที่โจทย์กำหนด

2.ไปที่ CMD ทำการลบไฟล์โดยใช้คำสั่งดังนี้
del *.Docx
3.ผลดังนี้



9.จงเปลี่ยนนามสกุลไฟล์ทั้งหมดบนโฟลเดอร์ “2557” ที่มีนามสกุล “.OLD” มาเป็น “.TMP” แทน
1. ใช้คำสั่ง ren เพื่อทำการเปลี่ยนสกุลไฟล์เป็น .TMP.
C:\Test\Budget\2557>ren  *.old *.tmp
2.ได้ผลดังนี้



10.จงลบไฟล์ในโฟลเดอร์ “2557” ออกไปทั้งหมด โดยเรียกใช้งานผ่าน Input File (Redirection เครื่องหมาย “<” จากไฟล์ที่ตั้งขึ้นคือ confirm.scr) ด้วยการยืนยันการลบไฟล์ทั้งหมดด้วย “Y” แบบอัตโนมัติ
1.ทำการลบไฟล์ทุกไฟล์ไปก่อน โดยพิมพ์ตามนี้
C:\Test\Budget\2557\>del   *.*
2.โปรแกรมจะถามว่าแน่ใจหรือไม่ให้ พิมพ์ “Y” ลงไป
3.ได้ผลดังนี้

4.หลังจากนั้นให้ทำการสร้างไฟล์ให้โดยพิมพ์คำสั่งดังนี้
C:\Test\Budget\2557> copy con confirm.scr
5.เพื่อพิมพ์เสร็จ กด Enter และพิมพ์ Y ลงไปและ กด Enter หลังจากนั้น กด F6 ได้ผลดังนี้



6.จากนั้นให้พิมพ์ confirm.scr ลงใน CMD















บทที่ 6 การติดตั้งไดรเวอร์และงานปรับแต่งพื้นฐาน

 

บทที่ 6
เรื่อง การติดตั้งไดร์เวอร์และงานปรับแต่งพื้นฐาน
โปรแกรมไดร์เวอร์
กกกกกกกการทำงานจะต้องมีการติดต่อกับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ เช่น อุปกรณ์อินพุด/เอาต์พุตฐานอย่างคีร์บอร์ดและจอภาพซึ่งระบบปฎิบัติการมักรู้จักและสามารถเข้าไปติดต่อเพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์พื้นฐานเหล่านั้นได้อยู่แล้ว แต่อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบคอมพิวเตอร์ในความเป็นจริงแล้ว มีมากมายและค่อนข้างหลากหลาย และใช่ว่าคอมพิวเตอร์จะรู้จักอุปกรณ์ทั้งหมด ดังนั้น ในการที่จะให้คอมพิวเตอ์สามารถเข้าไปจัดการ ควยคุมและสั่งงานอุปกรณ์เหล่านั้นได้ จึงจำเป็นต้องติดตั้งโปรแกรมไดรเวอร์
ไดรเวอร์ (Drivers) หมายถึงตัวขับอุปกรณ์ จัดเป็นโปรแกรมชนิดหนึ่ง ซึ่งปกติจะแนบมาพร้อมกับอุปกรณ์ภายในกล่องบรรจุภัณฑ์ เช่น ไดรเวอร์เมนบอร์ด ไดรเวอร์เครื่องพิมพ์และไดรเวอร์เครื่องสแกนเนอร์ เป็นต้น หน้าหลักๆ ของไดรเวอร์ก็คือ ช่วยให้ระบบปฎิบัติการาสมารถเข้าไปติดต่อและจัดการกับอุปกรณ์นั้นได้  การที่ติดตั้งโปรแกรมไดรเวอร์ก็เพื่อให้ระบบปฎิบัติการสามารถเข้าไปติดต่อเพื่อจัดการอุปกรณ์ ได้นั่นเอง
ภายหลังจากการติดตั้งระบบปฎิบัติการWindows 7 เป็นที่เรียบร้อยแล้วยังถือว่าไม่เสร็จสมบูรณ์ เพราะอาจมีอุปกรณ์บางตัวที่ระบปฎิบัติการไม่รู้จัก หรือในกรณีที่อุปกรณ์บางตัว ตัวระบบปฎิบัติการ  Windows  ได้นำไดรเวอร์มาตรฐานใช้งานแทน (ไม่ตรงกับรุ่น) ทำให้เราใช้อุปกรณ์ดังกล่าวได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ดังนั้นในหัวข้อนี้ จะมาเรียนรู้เกี่ยวกับขั้นตอยการติดตั้งไดรเวอร์
การตรวจสอบอุกรณ์ใน Device Manager
กกกกกกกระบบปฎิบัติการ Windows ได้จัดเตรียมศูนย์รวมของเหล่าอุปกัณ์เชื่อมต่อเข้ากับหน่วยระบบ ซึ่งเรียกว่า Device Manager ดังนั้น Device Manager จึงเป็นส่วนสำคัญในการจัดการกับอุปกรณ์ฮาดแวร์ต่างๆที่ติดตั้งอยู่ในเตรื่องคอมพิวเตอร์นั่นเอง กล่าวคือ เราสามารถเข้าไปยังDevice Manager เพื่อเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าอุปกรณ์ตามทางเลือกต่างๆ รวมถึงการ เปิด/ปิดใช้งานอุปกรณ์ และการตรวจสอบการขัดแย้งกัน ของตัวอุปกรณ์ เป็นต้น โดยรายการฮาอแวร์ต่างๆ ทั้งหมดในคอมพิวเตอร์ สมมารถได้การปรับตั้งค่าศูนย์กลางแห่งนี้

สำหรับวิธีเข้าไปยัง Device Manager มีขั้นตอนดังนี้  
ดับเบิ้ลคลิกที่  Computer จากนั้นคลิกที่ System properties

 

คลิกที่  Device Manager 


 

ภายในศูนย์ควบคุมของ Device Manager ซึ่งเต็มไปด้วยอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆที่ได้เชื่อมต่อเข้ากับระบบ กรณีที่ไม่ร็จักอุปกรณ์ใด ที่หน้ารายการนั้นจะมีเครื่องหมาย ? ดังนั้นจึงต้องติดตั้งไดร์เวอร์หรือปรับตั้งค่าอุปกรณ์นั้นให้สามารถใช้งานได้



การปรับค่าความละเอียดของจอภาพ
กกกกกกกภายหลังจากการติดตั้งไดร์เวอร์การ์ดจอภาพเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ระบบปฏิบัติการจะปรับตั้งค่าความละเอียดจอภาพภายใต้ขีดความสามารถสูงสุดของจอภาพอัตโนมัติ ในขณะเดียวกันอัตรารีเฟชบนจอภาพแบบ LCD ก็สมารถใช้ค่าปกติได้



ให้คลิกขวาที่พื้นที่ว่างของหน้าเดสก์ท็อปจากนั้นเลือกรายการ Screen resolution






ตรงหัวข้อ Resolution ให้คลิกที่ลิสต์บ็อกซ์ จะปรากฏค่ารายละเอียดต่างๆ ซึ่งตามปกติแล้วค่าดังกล่าวจะถูกตั้งค่าที่เหมาะสมอยู่แล้ว โดยจากรูปถูกตั้งค่าอยู่ที่  1366 x 768




การเพิ่มไอคอนสำคัญไว้บนเดสก์ท็อป
ภายหลังจากการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 7  เป็นที่เรียบร้อยแล้ว บนเดสก์ท็อปจะมีเพียงไอคอนเดียวเท่านั้น Recycle Bin เท่านั้น ดังนั้นหากต้องการนำไอคอนสำคัญๆ ที่มักใช้งานบ่อยๆมาวางไว้บนเดสก์ท็อป ก็สมารถดำเนินการได้ ดังนี้

เลื่อนเมาส์คลิกขวาที่ว่างหน้าเดสก์ท็อป เลือกรายการ Personalize จากนั้นเลือกรายการ Change desktop Icons




คลิกที่เครื่องหมายถูกตรงเช็คบ็อกซ์หน้าไอคอนตามที่ต้องการ แล้วคลิกปุ่ม OK

 

การปรับขนาดไอคอนบนเดสก์ท็อป
สำหรับไอคอนที่แสดงอยู่บนหน้าเดสก์ท็อปนั้น จะถูกกำหนดค่าให้เป็นขนาดกลาง ซึ่งเป็นค่าปกติ แต่ก็สามารถปรับขนาดให้เล็กลงหรือใหญ่ขึ้นได้ ตามขั้นตอนดังนี้


คลิกขวาที่เดสก์ท็อป แล้วเลือก View แล้วเลือกขนาดตามที่ต้องการ 


แบบทดสอบประเมินผลการเรียนรู้ที่ 6

จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.โปรแกรมไดรเวอร์คืออะไร มีบทบาทสำคัญอย่างไร จงอธิบาย
อบ คือตัวขับอุปกรณ์ จัดเป็นโปรแกรมชนิดหนึ่ง ซึ่งปกติจะแบบมาพร้อมกับอุปกรณ์ภายในกล่องบรรจุภัณฑ์ บทบาทคือ ช่วยให้ระบบปฏิบัติการเข้าไปติดต่อและจัดการกับอุปกรณ์  I/O เหล่านั้นได้

2.มานะบอกกับมานีว่า ฉันติดตั้ง Windows แล้ว ไม่เห็นต้องติดตั้งไดรเวอร์อะไรให้ยุ่งยากเลยคอมพิวเตอร์ก็ใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ได้ตามปกติ หากนักเรียนเป็นมีนา จะอธิบายให้มานะให้เข้าใจได้อย่างไร
ตอบ  ถ้าไม่ติดตั้งไดรเวอร์อาจมีอุปกรณ์บางตัวที่ระบบปฏิบัติการไม่รู้จัก หรือ ในกรณีที่อุปกรณ์บางตัว ตัวระบบปฏิบัติการ Windows ได้นำไดรเวอร์มาตรฐานมาใช้งานแทน

3. ในระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ตรงส่วนใดที่ใช้เป็นศูนย์รวมของเหล่าอุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเข้ากับหน่วยระบบ
ตอบ Device Manager

4.การปรับตั้งค่า Refresh Rate บนจอภาพ LCD มีความจำเป็นหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ไม่จำเป็น เพราะไม่จำเป็นต้องปรับตั้งค่าใดๆ สามารถใช้ค่าปกติ

5.การตั้งค่า Screen Saver บนจอภาพ LCD มีส่วนขยายถนอมจอภาพโดยตรงหรือไม่ อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ ไม่ เพราะ จอLCD เป็นจอภาพรุ่นใหม่ การเปิดจอภาพทิ้งไว้นานๆจึงมิได้ส่งผลกระทบให้จอภาพเสื่อมลง