สิทธิ์ความเป็นเจ้าของซอฟต์แวร์
สิทธิ์ในความเป็นเจ้าของโปรแกรมซอฟต์แวร์ ระบุถึงการอนุญาติให้ใช้งานโปรแกรมภายหลังจากโปรแกรมซอฟต์แวร์นั้นถูกพัฒนาขึ้น โดยผู้พัฒนา (อาจเป็นบุคคลหรือระดับองค์กร) จะถือสิทธิ์ความเป็นเจ้าของโปรแกรมดังกล่าว ว่าจะอนุญาตให้นำไปจำหน่าย แบ่งฟัน หรือแจกจ่ายหรือไม่ รวมถึงขอบเขตการใช้งานโปรแกรมในรูปแบบต่างๆ ซึ่งผู้ใช้ควรอ่านและศึกษาให้ดีเพราะมีผลต่อกฎหมายลิขสิทธิ์ ดังนั้น ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ใช้งานในทุกวันนี้ จะมีอยู่หลายรูปแบบด้วยกัน โดยหากพิจารณาการจัดแบ่งประเภทของซอฟต์แวร์ในมุมมองทางตลาดแล้ว จะแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภทด้วยกัน อันได้แก่1.ซอฟต์แวร์เพื่อการพาณิชย์
คือซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อจำหน่ายและหวังผลกำไร ตัวอย่างเช่น เมื่อซื้อซอฟต์แวร์ชนิดนี้มาใช้งาน มักเป็นลิขสิทธิ์แบบใช้งานคนเดียว (Single-User License) เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งหมายถึง ขอบเขตการติดตั้งใช้งานจะทำลงในเครื่องของเราเพียงเครื่องเดียวเท่านั้น
http://inex.co.th/shop/media/catalog/product/cache/1/image/1200x/040ec09b1e35df139433887a97daa66f/s/i/simplify3d_8_1.jpg
2. แชร์แวร์ (Shareware)
เป็นโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์เช่นกัน โดยอาจจถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์กรหรือโปรแกรมเมอร์เพียงคนเดียวก็ได้ มีการแจกจ่ายให้ทดลองฟรีภายในระยะเวลาที่กำหนด ที่สำคัญ โปรแกรมที่ให้ทดลองใช้ฟรีนั้น อาจมีเครื่องมือบางตัวถูกจำกัดขอบเขตการใช้
https://downloaddd.in.th/knowledge/wp-content/uploads/2013/11/%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%9F%E0%B8%95%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%8C-200x200.png
3. ฟรีแวร์ (Freeware)
คือซอฟต์แวร์ที่ใช้งานได้ฟรี โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายหรือค่าธรรมเนียมใดๆ ผู้ใช้สามารถนำโปรแกรมนี้มาใช้งานได้ฟรี แล้วยังสามารถแบ่งปันหรือคัดลอกไปให้ผู้อื่นก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามผู้เขียนโปรแกรมยังคงเป็นเจ้าของสิทธิ์อยู่
http://www.geocities.ws/55003498089/Image089/115.png
4. ซอฟต์แวร์สาธารณะ
คือโปรแกรมที่ปราศจากลิขสิทธิ์ใดๆ โดยเจ้าของสิทธิ์ในตัวโปรแกรม ที่เป็นผู้พัฒนาโปรแกรมนี้ขึ้นมา มีจุดประสงค์บริจาคแก่สาธารณะ ดังนั้น ซอฟต์แวร์ชนิดนี้ นอกจากยังใช้งานฟรีแล้ว ยังสามารถคัดลอก ดัดแปลง แก้ไข และแจกจ่ายให้กับบุคคลอื่นๆ ได้โดยไม่มีข้อจำกัดและข้อผูกมัดใดๆ
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEiCNqMfAi8nvLn99kClRNZ-3jRkFmmHCrAO05feQxjnOan8SwcQ05rNFrVGc9HOXMvhIw2nDGjxjDbVUTGg9izXGMhp1vcVti3jfep5IhH3cq_n6SdSg_2fbx177bmgC87ZtlrmLunWT8A/s1600/1-8-638.jpg
ระบบปฏิบัติการตามมาตรฐานปิดและมาตรฐานเปิด
ซอฟต์แวร์ตามมาตรฐานปิด คือซอฟต์แวร์ที่มีกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของ (Proprietary) ไม่มีการเปิดเผยชุดคำสั่ง กล่าวคือ เป็นซอฟต์แวร์ที่มีเจ้าของลิขสิทธิ์แต่เพียงผู้เเดียว โดยได้รับใบอนุญาตภายใต้สิทธิตามกฎหมาย ทั้งนี้ ผู้ที่นำซอฟต์แวร์นี้ไปใช้จะต้องซื้อลิขสิทธิ์ที่ถูกต้อง เพื่อขอใบอนุญาตการใช้งานที่อยู่ภายใต้ขอบเขตและเงื่อนไขที่ระบุไว้อย่างเคร่งครัด
ซอฟต์แวร์ตามมาตรฐานเปิด คือซอฟต์แวร์แบบ Open Source ที่ถูกสร้างขึ้นด้วยแนวคิดการอาศัยความร่วมมือจากโปรแกรมเมอร์หรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั่วโลก โดยมีความตั้งใจที่จะเปิดเผยชุดคำสั่งสู่สาธารณะ เพื่อให้เหล่าพัฒนาช่วยกันสร้างซอฟต์แวร์เหล่านี้ขึ้นมา และให้ผู้ใช้งานทั่วไป สามารถนำไปใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
ระบบปฏิบัติการ Windows 7
ระบบปฏิบัติการ Windows 7 ได้เริ่มวางจำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. 2552 อย่างเป็นทางการ และยังสร้างยอดจำหน่ายสูงอย่างเป็นประวัติการณ์ โดยระยะเวลาเพียง 3 ปีถัดมา มียอดจำหน่ายมากกว่า 600 ล้านชุด และกลุ่มผู้ใช้งานเดิมอย่าง Windows XP และ Windows Vista ได้เปลี่ยนใจหันมาใช้ระบบปฏิบัติการ Windows 7 มากขึ้นเรื่อยๆ
ระบบปฏิบัติการ Windows 7 ยังมีให้เลือกใช้ทั้งแบบ 32 บิตและ 64 บิต โดยมีคุณสมบัติแตกต่างกันตามรายละเอียดต่อไปนี้
- Windows 7 แบบ 32 บิต รองรับหน่วยความจำได้สูงสุด 4 กิกะไบต์
- Windows 7 แบบ 64 บิต รองรับหน่วยความจำได้ไม่จำกัด
- Windows 7 แบบ 64 บิต ทำงานได้อย่างรวดเร็วกว่าแบบ 32 บิต
ขั้นตอนการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 7
เมื่อคอมพิวเตอร์ที่ประกอบไว้ผ่านการทดสอบแล้วว่ามีความสมบูรณ์และพร้อมที่จะใช้งาน ขั้นต่อไปคือการจะทำให้คอมพิวเตอร์สามารถบูตเครื่องได้ จึงต้องติดตั้งโปรแกรมระบบปฏิบัติการลงไปก่อน ซึ่งระบบปฏิบัติการจะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อตอบสนองการใช้งานแก่ผู้ใช้ตามความประสงค์
ต่อไปนี้จะเป็นการสาธิตวิธีการติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 7 ซึ่งต้องจัดเตรียมอุปกรณ์ที่สำคัญต่างๆ ดังนี้
ชุดคอมพิวเตอร์ที่พร้อมใช้งาน
แผ่นติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows 7
แผ่นไดรเวอร์เมนบอร์ด
วิธีการติดตั้ง ดังนี้
1. ทำการตั้งค่า BIOS ของ คอมพิวเตอร์ของเรา โดยทำการเปิดคอมพิวเตอร์ > จากนั้นกด ปุ่ม “Delete” บน keyboard เพื่อเข้าในหน้า Bios > จากนั้นตั้งให้ Boot จาก DVD เป็นอันดับแรก > จากนั้นทำการบันทึกค่าที่เราเปลี่ยน จากนั้นคอมพิวเตอร์จะ Restart
หมายเหตุ : สำหรับ Notebook บางรุ่นอาจจะให้กด F2 , F10 แล้วแต่ยี่ห้อนะครับ
วิธีการเข้า BIOS : การเข้าไบออสคอมพิวเตอร์แต่ละรุ่น
Note : แต่ถ้าเราต้องการกดใช้ Boot menu เลย ทั้ง Notebook / PC ส่วนมากจะกด F12 , F10 (กดย้ำๆเลยนะครับ) เผื่อทำการเลือกเลยว่าเราจะ Boot จากอะไรในตอนเปิดคอมพิวเตอร์ โดยให้เลือกจาก DVD / USB ตามที่เราต้องการที่จะติดตั้ง Windows 7
Tab : Boot “ภาพด้านล่างเป็นการปรับ BIOS โดยถ้าต้องการให้ ให้ Boot USB ก็ให้ทำการเลื่อน USB ขึ้นมาบนสุด แต่ถ้าจะให้ CD/DVD Boot ก็ให้เลื่อนให้ขึ้นมาบนสุด โดยการกด +/- ในการ เลื่อนขึ้นลง ”
http://www.windowssiam.com/wp-content/uploads/2014/10/SET-BIOS-COMPUTER-600x450.jpg
สำหรับ Windows 7 แนะนำให้ปรับ Mode SATA Operation : ให้เป็น AHCI
AHCI (Advanced Host Controller Interface ) this is a hardware mechanism that allows the software to communicate with Serial ATA (SATA) devices.
โดย AHCI เป็น ฮาร์ดแวร์ที่ควบคุมกลไกการทำงาน ระหว่างซอฟต์แวร์กับ SATA
http://www.windowssiam.com/wp-content/uploads/2014/10/AHCI-Mode-HDD-600x450.jpg
2. จากนั้นจะขึ้นข้อความ Press any key to boot cd or dvd …. ให้ทำการกด Enter 1ครั้ง หรือรัวๆเลยก็ได้แล้วแต่ครับ
3. เริ่มเข้า Starting Windows
http://www.windowssiam.com/wp-content/uploads/2014/10/install-Windows-7.jpg
3. เข้าสู่หน้า Windows 7 Setup
Language to install : เลือก English
Time and Currency format : เบิอก English (United States)
Keyboard or input method : เลือก US
http://www.windowssiam.com/wp-content/uploads/2014/10/install-Windows-7-Setup.jpg
http://www.windowssiam.com/wp-content/uploads/2014/10/install-Windows-7-install.jpg
5. เลือก I accept the license terms > กด Next
http://www.windowssiam.com/wp-content/uploads/2014/10/install-Windows-7-Setup-license.jpg
6. ทำการเลือก Custom (advance) ในการติดตั้ง
http://www.windowssiam.com/wp-content/uploads/2014/10/install-Windows-7-custom.jpg
7. ในขั้นตอนตรงนี้มี 2 กรณี ให้้เลือกตามที่ผมกำลังจะอธิบายนะ
7.1 กรณีแรก : กรณีเพิ่งซื้อคอมพิวเตอร์มาใหม่ และยังไม่เคยลง Windows แปลว่า Harddisk ยังไม่ได้ใช้แลยังไม่ได้แบ่ง Partition
7.1.1 .ทำการเลือก DISK ที่เรามีโดยเอาเมาส์คลิกซ้ายเลือก และจะเห็นเมนูให้ทำการกด Drive option (advanced)
http://www.windowssiam.com/wp-content/uploads/2014/10/install-Windows-7-drive-option-advance.jpg
7.1.2 ทำการกด New >
Size ให้ทำการใส่จำนวน Harddisk Drive C ที่เราอยากได้ เช่น 100 GB ก็ให้เอา 1024 คูณไป ก็จะได้ 102400 MB (ผมแนะนำให้ Drive C = 100 GB) ส่วนที่เหลือก็ให้ทำการคลิก New อีกครั้งแล้วก็แบ่งให้หมดจะได้เป็น Drive D
http://www.windowssiam.com/wp-content/uploads/2014/10/install-Windows-7-new-disk.jpg
7.1.3 ให้ทำการเลือก Drive ที่เราแบ่งไว้ที่จะเป็น Drive : C โดยทำการคลิกบน Drive นั้นๆ และทำการกด Next
หมายเหตุ : ไม่ต้องสนใจ Disk ที่เป็น Type : System / System Reserved
http://www.windowssiam.com/wp-content/uploads/2014/10/install-Windows-7-install-windows.jpg
7.2 กรณีสอง : กรณีลง Windows มาแล้ว แต่อยากทำการลง Windows 7 ใหม่
7.2.1 ให้ทำการเลือกไปที่ Drive ที่เป็น Drive C เดิมของเราปัจจุบัน (คลิกเมาส์ซ้ายเลือก) จากนั้นกด Format (โดยให้สังเกตุก่อนการ Format ว่า Drive C ของเราคือ Drive ไหน โดยให้สังเกตุจากความจุของ Harddisk หรือเราจะเข้าไปเปลี่ยน Label ของ Drive ก่อนการ Format ก็ได้ เราก็จะได้ไม่ Format ผิด Drive)
ก่อนการ format เราต้อง Backup ข้อมูลของ Drive C ที่เราที่สำคัญของเราด้วยนะ
http://www.windowssiam.com/wp-content/uploads/2014/10/install-Windows-7-format-disk.jpg
7.2.2 จากนั้นก็เลือก Drive C ที่เรา format ไป > กด Next
หมายเหตุ : ไม่ต้องสนใจ Disk ที่เป็น Type : System
http://www.windowssiam.com/wp-content/uploads/2014/10/install-Windows-7-install-windows.jpg
8. รอทำการติดตั้ง Windows 7
http://www.windowssiam.com/wp-content/uploads/2014/10/install-Windows-7-watting-install.jpg
9. ตั้งชื่อ Type a user name : ให้เราตั้งชื่อ User ในการ Login Windows อาทิเช่น Patompon
Type a computer name : ให้ตั้งชื่อคอมพิวเตอร์
http://www.windowssiam.com/wp-content/uploads/2014/10/install-Windows-7-username.jpg
10. ทำการตั้ง Password ใส่ก็ได้ไม่ใส่ก็ได้ โดยถ้าไม่ใส่ ก็ให้ทำการกด Next ได้เลย
http://www.windowssiam.com/wp-content/uploads/2014/10/install-Windows-7-password.jpg
http://www.windowssiam.com/wp-content/uploads/2014/10/install-Windows-7-produckey.jpg
12. สำหรับใครที่ใช้ Windows 7 แท้ ให้เลือก User Recommended Settings ในการ Update Windows 7
http://www.windowssiam.com/wp-content/uploads/2014/10/install-Windows-7-securiry.jpg
13. ตั้งเวลาของ Windows โดยให้เลือก
Time zone : UTC+7 Bangkok
http://www.windowssiam.com/wp-content/uploads/2014/10/install-Windows-7-settime.jpg
14. เลือก Publish Network (สำหรับใครไม่เป็นหน้านี้ก็ให้ข้ามไปได้เลยครับ)
http://www.windowssiam.com/wp-content/uploads/2014/10/install-Windows-7-publish.jpg
การปิดระบบใน Windows 7
ระบบปฏิบัติการ Windows 7 จะมีรูปแบบการปิดระบบหรือปิดเครื่อง คล้ายกับเวอร์ชั่นก่อนๆ คือคลิกที่ปุ่ม Start Shut down เพื่อปิดโปรแกรมและออกจากระบบ แต่ก็ยังมีทางเลือกในการเลือกโหมดเพื่อออกจากระบบในรูปแบบอื่นๆอีกเช่นกัน ด้วยการคลิกที่ปุ่มลูกศร ซึ่งอยู่ข้างปุ่ม Shut down ที่ด้านขวาโดยที่
- Shuttdown เป็นการปิดเครื่อง
- Switch user เป็นการล็อกออนเข้าบัญชีผู้อื่น โดยงานของบัญชีผู้ใช้งานเดิมยังคงอยู่ ซึ่งสามารถกลับมาใช้งานบัญชีเดิมได้ในภายหลัง
- Log off เป็นการปิดการทำงานของบัญชีผู้ใช้ที่ใช้อยู่ปัจจุบันเพื่อล็อกออนเข้าบัญชีผู้ใช้รายอื่น
- Lock เป็นการหยุดพักการทำงานแบบชั่วคราว โดยจะต้องกรอกรหัสผ่านให้ถูกต้องเมื่อต้องการกลับมาใช้งานต่อ
- Restart เป็นการปิดระบบ แล้วบูตเครื่องใหม่
- Sleep เป็นการหยุดพักระบบหรือให้ระบบหลับชั่วคราว ครั้นเมื่อต้องการกลับมาใช้งานก็สามารถขยับเมาส์หรือกดปุ่มคีย์ใดๆ บนคีย์บอร์ด ระบบก็ตื่นขึ้นมาให้เราสามารถกลับมาใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
- Hibernate เป็นการหยุดพักการทำงานชั่วคราว ด้วยการจัดเก็บงานที่ค้างคาอยู่ ณ ขณะรั้นไว้ในฮาร์ดดิสก์ ดังนั้น ระหว่างที่ระบบกำลังปิด จะต้องใช้เวลาสักครู่หนึ่งเพื่อคัดลอกข้อมูลลงในฮาร์ดดิสก์ ครั้นเมื่อคัดลอกเสร็จ เครื่องก็จะถูกปิดไป จนกระทั่งเวลาต่อมาเมื่อต้องการกับมาใช้งาน ก็ให้เปิดเครื่องตามปกติ ระบบก็จะโหลดโปรแกรมทร่ค้างคาอยู่ขึ้นมา เพื่อให้เราได้ใช้งานต่อ
ระบบปฏิบัติการ Windows 8
ระบบปฏิบัติการ Windows 8 ได้มีการปรับปรุงรูปลักษณ์พร้อมกับสนับสนุนการใช้งานผ่านจอสัมผัส ซึ่งคล้ายกันกับ Windows Phone โดยไมโครซอฟต์เรียกอินเตอร์เฟซนี้ว่า "Metro Interface" นอกจากนี้ กรณีผู้ใช้ยังอยากลับไปใช้งานอินเตอร์เฟซแบบเดสก์ท๊อปที่คุ้นเคยมานานก็สามารถทำได้ แต่อย่างไรก็ตาม ระบบปกฏิบัติการ Windows 8 อาจทำให้ผู้ที่เริ่มต้นใช้งานต้องปรับตัวไม่น้อยในเรื่องรูปแบบอินเตอร์เฟซ โดยเฉพาะปุ่ม Start ตรงตำแหน่งทาสก์บาร์ที่เรามักคุ้นเคยกันดี ได้ถูกตัดออกไป
ขั้นตอนการติดตั้ง
1.ก่อนอื่นใส่แผ่นติดตั้งลงในเครื่องอ่านดีวีดีของคอมพิวเตอร์ ทำการบูตเครื่องให้ไปตั้งไบออสของเครื่องให้บูตจากแผ่นดีวีดีเป็นอันดับแรกซึ่งการเข้าไบออสนั้นส่วนมาก ถ้าเป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะก็จะกดปุ่ม Del ส่วนแลปทอปก็จะกดปุ่ม F2 ให้ดูที่คู่มือของแต่ละเครื่องก็แล้วกัน
เมื่อเครื่องบูตขึ้นมาจนเห็นคำว่า Press any key to boot from CD or DVD…ให้กด ENTER เลยครับ
https://notebookspec.com/web/wp-content/uploads/2012/11/clean_install_8_02.jpg
2.ปล่อยให้เครื่องทำงานไปจนได้จนปรากฎดังภาพ ให้คลิกเลือกรายการตามนี้
- Language to install : English
- Time and currency format : Thai(Thailand)
- Keyboard or input method : ตัววินโดวส์จะเลือกให้เป็น Thai เพราะเห็นว่า Time and currency formatตั้งเป็น Thai ให้เราเลือกกลับมาเป็น US ก่อน เหตุผลเพราะเมื่อติดตั้งเสร็จหน้าล็อกออนเข้าระบบจะเป็นภาษาไทย เราอาจงงได้ในการกรอกชื่อผู้ใช้และพาสเวิร์ด
https://notebookspec.com/web/wp-content/uploads/2012/11/clean_install_8_03.jpg
3.ในหน้าต่าง Windows Setup ให้คลิก Install now เพื่อเริ่มการติดตั้ง Windows 8
https://notebookspec.com/web/wp-content/uploads/2012/11/clean_install_8_04.jpg
4.ในหน้าต่าง License terms คลิกถูก I accept the term license จากนั้นคลิก Next
https://notebookspec.com/web/wp-content/uploads/2012/11/clean_install_8_05.jpg
5.ในหน้าต่าง Which type of installation do you want ให้เลือกเป็น Custom: Install Windows only (advanced)
https://notebookspec.com/web/wp-content/uploads/2012/11/clean_install_8_06.jpg
6.ในหน้าต่าง Where do you want to install Windows ให้เลือกฮาร์ดดิสก์หรือพาร์ติชันที่ต้องการติดตั้ง (ในที่นี้เลือก Drive 0) เสร็จแล้วคลิก Next
ข้อควรจำในขั้นตอนนี้
ขั้นตอนนี้เราเลือก Drive ที่จะลง Windows8 ส่วนมาก จะลงใน Disk/Drive 0 นะครับ ก็คือ Drive C: ของ Windows เรานั้นเอง ระวังให้ดีอย่าลงผิดไดร์ฟนะ ในกรณีที่มีพาร์ติชันมากกว่า 1 พาร์ติชัน
https://notebookspec.com/web/wp-content/uploads/2012/11/clean_install_8_07.jpg
ในการ Format Windows ข้อมูลจะหายเฉพาะที่ Drive C นะครับ
สำหรับเครื่องที่มี Windows XP , Windows 7 แล้วจะลงใหม่เป็น Windows 8
1.ให้ทำการ Format Drive ที่เป็นวินโดวส์ตัวเก่าก่อน โดยทำการกด Drive options (advanced) จากนั้นเลือก ไดร์ฟของวินโดวส์เก่าแล้วคลิก Format …ย้ำอีกทีดูดีๆนะครับ ถ้าผิดไดร์ฟข้อมูลในไดร์ฟหายหมดนะ
2. จากนั้นก็เลือก Drive/disk ที่เรา Format ไปจากข้อที่ผ่านมา จากนั้นกด Next
สำหรับเครื่องที่เพิ่งซื้อมาใหม่หรือฮาร์ดดิสก์ลูกใหม่
1 ให้เราทำการกด Drive options จากนั้นเลือกฮาร์ดดิสก์แล้วคลิก New เพื่อทำการแบ่งพาร์ติชันวินโดวส์ให้แบ่งมาสัก 80 -100 GB ก็พอ ( 1GB = 1024 MB)
2 จากนั้น ก็แบ่งส่วนที่เหลือไว้ให้กับ Drive D , E ตามความเหมาะสม
3 ต่อมาให้เลือกไดร์ฟที่จะให้ลงวินโดวส์ โดยทำการคลิกบน Drive/Disk แล้วคลิก Next
https://notebookspec.com/web/wp-content/uploads/2012/11/clean_install_8_08.jpg
7.ระบบจะเริ่มทำการติดตั้ง Windows 8 โดยจะดำเนินการขั้นตอนต่างๆ ของวินโดวส์ตามนี้ Copying Windows files, Getting files ready for installation, Installing features, Installing updates และ Finishing up ให้รอจนการติดตั้งแล้วเสร็จ ก็ประมาณ 15 – 20 นาที ขึ้นอยู่กับเครื่องว่าแรงขนาดไหน
https://notebookspec.com/web/wp-content/uploads/2012/11/clean_install_8_09.jpg
8.เมื่อ Windows 8 ติดตั้งเรียบร้อย เครื่องจะรีสตาร์ท 1 ครั้ง
https://notebookspec.com/web/wp-content/uploads/2012/11/clean_install_8_10.jpg
9.หลังจากทำการติดตั้งแล้วเสร็จ Windows จะทำการรีสตาร์ทเครื่อง 1-2 รอบ จากนั้นจะปรากฏหน้าต่าง Personalize ให้ทำการเลือกสีของ Background และกำหนดชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์โดยใส่ชื่อที่ต้องการในช่อง PC name เสร็จแล้วคลิก Next
https://notebookspec.com/web/wp-content/uploads/2012/11/clean_install_8_11.jpg
10.ขั้นตอนการ Settings ให้เราเลือก Use Express Settings เพื่อทำการตั้งค่าระบบแบบด่วน
https://notebookspec.com/web/wp-content/uploads/2012/11/clean_install_8_12.jpg
11.ในหน้าต่าง Sign in to your PC ให้คลิก Sign in without a Microsoft account แล้วคลิก Next
** ในขั้นตอนนี้จะมีวิธีการ Sign in to your PC อยู่ 2 วิธี ได้แก่ Email Address และ Sign in without a Microsoft account สำหรับในที่นี้ผมขอให้เลือก Sign in without a Microsoft account เพราะสะดวกกว่า ส่วน Email Address เราต้องต่ออินเตอร์เน็ตและต้องมีอีเมลของ outlook.com หรือ Hotmail.com อยู่ก่อนแล้ว ซึ่งเราสามารถสร้างได้ภายหลังที่เข้าใช้วินโดวส์แล้วก็ได้**
https://notebookspec.com/web/wp-content/uploads/2012/11/clean_install_8_13.jpg
12.หน้าต่างต่อมาให้คลิก Local account
https://notebookspec.com/web/wp-content/uploads/2012/11/clean_install_8_14.jpg
13.ต่อมาให้กำหนดชื่อผู้ใช้ในช่อง User name แล้วกำหนดรหัสผ่านที่ต้องการ 2 ครั้ง ในช่อง Password และ Reenter password จากนั้นข้อความช่วยจำรหัสผ่านในช่อง Password hint แล้วคลิก Finish
https://notebookspec.com/web/wp-content/uploads/2012/11/clean_install_8_15.jpg
14.ระบบจะทำการจัดเตรียมระบบตามการตั้งค่า
https://notebookspec.com/web/wp-content/uploads/2012/11/clean_install_8_16.jpg
15.ระบบแนะนำการใช้งานเบื้องต้นจากหน้านี้ก็จะเข้าหน้า Lock on Screen
https://notebookspec.com/web/wp-content/uploads/2012/11/clean_install_8_17.jpg
16.เมื่อมาถึงหน้า Lock on Screen?คุณก็พร้อมใช้งาน Windows 8 ได้แล้ว
https://notebookspec.com/web/wp-content/uploads/2012/11/clean_install_8_18.jpg
อ้างอิง
http://www.windowssiam.com/install-windows-7/
https://notebookspec.com/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น