วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บทที่ 4 ประเภทของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ

ความแตกต่างของระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการชนิดต่างๆ ถูกออกแบบและสร้างขึ้นบนพื้นฐานของความต้องการที่แตกต่างกัน อันได้แก่
1. อินเตอร์เฟซของระบบปฏิบัติการ
2. ประเภทของระบบปฏิบัติการ
3. ชนิดของซีพียูที่สนับสนุน


 

   




http://comerror.com/news_image/15_27072013031625_1.jpg

อินเตอร์เฟซของระบบปฏิบัติการ

อินเตอร์เฟซของระบบปฏิบัติการสามารถถูกออกแบบให้อยู่ในรูปของการโต้ตอบด้วยคำสั่ง หรือแบบกราฟิกก็ได้โดยที่


https://tantanlowbatt.files.wordpress.com/2015/01/002.jpg?w=620

อินเตอร์เฟซแบบคำสั่ง (Command Line)

เป็นอินเตอร์เฟซที่ผู้ใช้ต้องมีความรู้ในการโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ผ่านคำสั่งต่างๆ ดังนั้นผู้ใช้งานจึงต้องรู้ว่า ต้องป้อนคำสั่งอะไรลงไปเพื่อโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์หรือสั่งงานให้เครื่องทำ  ตัวอย่างเช่น ในระบบปฏิบัติการ DOS หากต้องการสร้างไดเรกทอรี (โฟลเดอร์) จะต้องใช้คำสั่ง md หรือหากต้องการคัดลอกไฟล์ก็จะต้องใช้คำสั่ง copy ซึ่งนอกจากต้องรู้คำสั่งแล้ว ยังต้องเขียนรูปแบบคำสั่งให้ถูกต้องด้วย
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/2/29/Linux_command-line._Bash._GNOME_Terminal._screenshot.png

อินเตอร์เฟซแบบกราฟิก (Graphics User Interface : GUI)

ระบบปฏิบัติการยุคใหม่ อินเตอร์เฟซเพื่อการโต้ตอบมักถูกออกแบบเป็น GUI ซึ่งนอกจากจะมีความสวยงามแล้ว ยังดึงดูดความสนใจแก่ผู้ใช้และยังช่วยให้การโต้ตอบระหว่างกันสะดวกยิ่งขึ้น
http://www.ictlounge.com/Images/gui_large.jpg

ประเภทของระบบปฏิบัติการ

ระบบปฏิบัติการ ยังถูกจัดแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjQSOXifVzmk4ijrHSkj3kXoHX0swlsjUi_gKLLiGKQ7R308gBglIeni01NqKWfOoCF5KNuXItFyKLp64WCWQm7DiimKIhIG-FwmloJciLz5wU4gUhXu4dUF57AMt7b22L3BWZhB_ppDq8/s1600/windows-logo.jpg

ระบบปฏิบัติการส่วนบุคคล (Personal Operating Systems)

เป็นระบบปฏิบัติการที่นำมาใช้งานส่วนบุคคลเป็นหลัก ในลักษณะของผู้ใช้คนเดียว (Stand-Alone) ตัวอย่างเช่น ระบบปฏิบัติการ Windows
http://hautesecure.com/wp-content/uploads/2011/12/OS_thumb.jpg

ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating Systems)

เป็นระบบปฏิบัติการที่สร้างขึ้นเพื่อใช้งานบนระบบเครือข่ายเป็นหลัก สามารถรองรับการเชื่อมต่อขากเครื่องลูกข่ายต่างๆ เข้าด้วยกัน  โดยมีศูนย์บริการที่เรียกว่าเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้เป็นเครื่องแม่ข่ายหรือมักเรียกกันว่าโฮสต์
https://sites.google.com/site/sornsindompraiwan/_/rsrc/1468848691728/ip-adress/kar-confix-ip-address/network-operating-system/790aa-nos.jpg


ชนิดของซีพียูที่สนับสนุน

โดยทั่วไปแล้ว ระบบปฏิบัติการมักถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้งานบนซีพียูประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ใช้งานกับซีพียูของเครื่องพีซีทั่วไป เครื่องเซิร์ฟเวอร์ หรืออุปกรณ์เคลื่อนที่
http://www.oopsmobile.net/wp-content/uploads/2015/07/sofia1-300x251.jpg

ระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลและเซิร์ฟเวอร์

ในหัวข้อนี้ จะขอกล่าวถึงระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้งานบนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อันได้แก่ ระบบปฏิบัติการ DOS, Windows, Windows  Server, Mac-OS, Unix และ Linux
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEjKEf2JNQfWMX24uWV07WeZuK_fvdqISy_4mdjiT_KAvrlyUiX6Jhyphenhyphen4kipk0ZwUmBFG8xpHZIG61ipbwGRa2jk1IRXQz0weZ7_lDfDbDjWo3b2IlQi4eHr82neCE40peC2Ndm278nvrV64/s1600/windows-logo.jpg

  ดอส (Disk Operating System : DOS)

ระบบปฏิบัติการ DOS จัดเป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมสูงมากในช่วงปี พ.ศ. 2523  ถึง พ.ศ. 2533 ถูกออกแบบใช้งานบนซีพีในยุคเริ่มต้น เป็นระบบปฏิบัติการที่ประมวลผลแบบงานเดียว (Single Tasking) โดยมีอินเตอร์เฟซเป็นแบบคำสั่งหรือที่เรียกว่า Command Prompt อย่างไรก็ตาม ในระบบปฏิบัติการ Windows ก็ยังผนวกการโต้ตอบแบบคำสั่งเอาไว้สำหรับผู้ที่ยังคงชื่นชอบรูปแบบการโต้ตอบชนิดนี้
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/94/FreeDOS_Beta_9_pre-release5_(command_line_interface)_on_Bochs_sshot20040912.png/440px-FreeDOS_Beta_9_pre-release5_(command_line_interface)_on_Bochs_sshot20040912.png

วินโดวส์ (Windows)

ระบบปฏิบัติการ Windows จากค่ายไมโครซอฟต์ เป็นระบบปฏิบัติการที่มีวิวัฒนาการมายาวนานหลายปีทีเดียว ในปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาดมากกกว่า 90%  มีหลากหลายเวอร์ชั่น หลากหลายระดับให้เลือกใช้  ตั้งแต่ระบบปฏิบัติการส่วนบุคคล ระบบปฏิบัติการเครือข่าย  และระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ รายละเอียดต่อไปนี้ จะสรุปประวัติโดยย่อของระบบปฏิบัติการ Windows ในเวอร์ชั่นต่างๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
https://mlxprodcontent.blob.core.windows.net/014665-1000/en-us/thumbnail.png?v=20160821202632

Windows 1.0 ถึง Windows XP

บริษัทไมโครซอฟต์ได้สร้างระบบปฏิบัติการวินโดวส์ตัวแรกคือ Windows 1.0 เมื่อปี พ.ศ. 2528 เพื่อทดแทนระบบปฏิบัติการ DOS จนในที่สุดก็ได้ระบบปฏิบัติการ Windows 3.11 ซึ่งถือเป็นเวอร์ชั่นที่ได้รับการยอมรับและประสบความสำเร็จจากผู้ใช้เป็นจำนวนมากที่มีอยู่ทั่วโลก
และในปี พ.ศ. 2544 นี้เอง ถือเป็นจุดเปลี่ยนอันสำคัญทีเดียวโดยทางไมโครซอฟต์ได้ปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows XP ซึ่งสร้างความสำเร็จให้กับบริษัทเป็นอย่างมาก และยังได้รับความนิยมตอบรับการใช้งานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลามากกว่า 10 ปี จนถึงทุกวันนี้ก็ยังมีผู้ใช้บางกลุ่ม ยังคงใช้งานระบบปฏิบัติการ Windows XP อยู่ แม้ว่าทางไมโครซอฟต์ได้ประกาศหยุดให้การสนับสนุนทางเทคนิคให้กับ Windows XP แล้วก็ตาม
http://i1-news.softpedia-static.com/images/news2/Microsoft-The-Future-of-Windows-XP-SP3-2.png



Windows Vista

ในช่วงปี พ.ศ. 2550 ไมโครซอฟต์ได้เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows Vista เพื่อทดแทน Windows XP ที่มีการใช้งานมายาวนาน โดยมีจุดเด่นตรงที่ เป็นระบบปฏิบัติการที่สนับสนุนระบบ 64 บิต พร้อมกับปรับปรุงประสิทธิภาพในส่วนต่างๆ เพิ่มขึ้นอีกหลายอย่าง แต่ระบบปฏิบัติการ Windows Vista มีกระแสตอบรับไม่ดีเลย ถือว่าล้มเหลวโดยสิ้นเชิง โดยเฉพาะในเรื่องของการใช้ทรัพยากรระบบสูงและการทำงานค่อนข้างช้า
http://www.techxcite.com/topics/15782/filemanager/windows-vista-help2.jpg


  Windows 7

  อีก 2 ปีถัดมา ทางไมโครซอฟต์ก็ได้ซุ่มพัฒนาระบบปฏิบัติการ Windows 7  และได้เปิดตัวใช้งานเมื่อปลายปี พ.ศ. 2552 โดยทางทีมงานได้ประกาศว่า ระบบปฏิบัติการ Windows 7 จะเป็นระบบปฏิบัติการที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเป็นการเรียกคืนความมั่นใจกลับมาอีกครั้ง
https://redmondmag.com/articles/list/~/media/ECG/redmondmag/Images/introimages2014/140812REDMackieWin7.jpg

Windows 8

ปี พ.ศ. 2555 ทางไมโครซอฟต์ได้เปิดตัวระบบปฏิบัติการ Windows 8  โดยมีการปรับปรุงรูปโฉมของวินโดวส์ใหม่ทั้งหมด ด้วยอินเตอร์เฟซใหม่ที่ทางไมโครซอฟต์ใช้ชื่อว่า “Metro Interface” ซึ่งคล้ายกันกับ Windows Phone ที่ใช้งานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ และยังรองรับจอภาพแบบสัมผัส (Touch Screen)  เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงแอปพลิเคชั่นต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว

https://fthmb.tqn.com/vYm-bIUsfo6TF3PsLdU6yLqwQ2E=/768x0/filters:no_upscale()/about/windows-8-57c731a73df78c71b60e50a1.jpg

Windows Server

เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System : NOS) จากค่ายไมโครซอฟต์ที่ถูกออกแบบให้ใช้งานบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์โดยเฉพาะมักใช้งานตามองค์กรทั่วไป สำหรับข้อเด่นของระบบปฏิบัติการเครือข่ายจากค่ายไมโครซอฟต์ก็คือ มีโปรแกรมสนับสนุนมากมาย อีกทั้งการเชื่อมโยงเครื่องลูกข่ายเข้ากับเครื่องเซิร์ฟเวอร์นั้นจะง่ายมากหากเครื่องลูกข่ายใช้ระบบปฏิบัติการจากค่ายไมโครซอฟต์เหมือนกัน
http://www.wegotserved.com/wp-content/uploads/2016/09/windows-server.jpg

แมคโอเอส (Mac-OS) 

ระบบปฏิบัติการ Mac เป็นผลิตภัณฑ์จากค่ายแอปเปิลที่ออกแบบมาใช้งานบนเครื่องแมคโดยเฉพาะ เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นจากพื้นฐานระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ โดยอินเตอร์เฟซแบบกราฟิก (GUI) ในรูปแบบหน้าต่างซ้อนๆกัน
http://3.bp.blogspot.com/-AS547m2Na8g/Ua1tI0MDrjI//HgDyLfjIyI0/s1600/mac_osx8.jpeg

ยูนิกซ์ (Unix)

ระบบปฏิบัติการ Unix ได้รับการพัฒนาขึ้นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2503 ถูกออกแบบเพื่อใช้งานบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์ระดับกลาง เป็นระบบปฏิบัติการประมวลผลแบบมัลติยูสเซอร์และมัลติทาสกิ้ง นอกจากนี้ ระบบคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ระดับไมโครคอมพิวเตอร์จนถึงเมนเฟรม สามารถรันอยู่ภายใต้ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ได้ทั้งสิ้น
https://sites.google.com/site/jukkridrenji12/_/rsrc/1447310257905/rabb-ptibati-kar-unix/unix-logo.gif

ลินุกซ์ (Linux)

ลินุกซ์จัดเป็นระบบปฏิบัติการสายพันธุ์หนึ่งของ Unix และยังเป็นระบบเปิด ที่เปิดโอกาสให้นักพัฒนานำไปปรับปรุงเพื่อแบ่งปันใช้งานบนอินเทอร์เน็ต แม้ว่า Linux ฉบับดั้งเดิมนั้นจะมีอินเตอร์เฟซแบบ Command Line ก็ตาม แต่เวอร์ชั่นใหม่ๆ ในปัจจุบันได้มีการปรับเปลี่ยนอินเตอร์เฟซมาเป็นแบบ GUI  และสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานฟรีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสำหรับลินุกซ์ประเทศไทย
http://www.nengnengneng.net/wp-content/uploads/2012/09/526.jpg

ระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่

ระบบปฏิบัติการที่ใช้งานบนเครื่องพีซี โน้ตบุ๊ก และเน็ตบุ๊ก ส่วนใหญ่จะใช้ระบบปฏิบัติการตัวเดียวกัน แต่สำหรับอุปกรณ์อย่างโทรศัพท์เคลื่อนที่  แท็บเล็ต และอุปกรณ์พกพาต่างๆ จะใช้ระบบปฏิบัติการคนละตัวกัน ที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Operating System) ในขณะเดียวกัน ก็มีระบบปฏิบัติการที่ถูกออกแบบมาเป็นกรณีพิเศษ เพื่อนำมาใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่โดยเฉพาะ เช่น Windows Phone, Android, Apple IOS, BlackBerry, HP webOS, Symbian เป็นต้น
http://www.technointrend.com/wp-content/uploads/2013/05/3mobile_os.jpg


อ้างอิง
http://www.nengnengneng.net/archives/3772
http://www.smilebkos.com
http://www.technointrend.com
http://melanies-miene.blogspot.com/
http://www.wegotserved.com/
http://www.pcadvisor.co.uk/how-to/windows


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น